วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย

ความหมายของคำว่า "ความรุนแรง"
     โดยทั่วๆ ไป ความรุนแรงก็คือการทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะเกิดจากธรรมชาติ อุบัติเหตุ หรือจากน้ำมือมนุษย์ก็ได้ ส่วนในอีกความหมายหนึ่ง ความรุนแรงคือสิ่งที่มาสกัดกั้นศักยภาพของชีวิต สมมุติว่ามีหญิงสาวคนหนึ่งเดินกลับบ้าน ระหว่างทางมีผู้ร้ายดักชิงทรัพย์แล้วฆ่า ก็หมายความว่าหากไม่เกิดเหตุความรุนแรงนี้ หญิงสาวคนนั้นก็จะยังมีศักยภาพในการดำเนินชีวิตได้ต่อไป
     นอกจากความรุนแรงจะสกัดกั้นศักยภาพชีวิตอย่างที่มันเป็นอยู่ (หากหญิงสาวผู้นั้นไม่ถูกฆ่า เธอก็ยังคงไปทำงานได้ตามปกติ) แล้ว ความรุนแรงยังสกัดกั้นศักยภาพชีวิตในอีกแง่หนึ่งด้วย กล่าวคือศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่เดิม เช่น สมมุติหญิงสาวคนนั้นกำลังจะเรียนต่อและเธอรอดตายอย่างปาฏิหาริย์แต่กลายเป็น เจ้าหญิงนิทรา ศักยภาพด้านการศึกษาของเธอที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก็ถูกสกัดจนต้องสะดุดหยุดลง
ความรุนแรง ความขัดแย้งและอำนาจ
     คน ส่วนใหญ่มักคิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องเดียวกับความขัดแย้งและอำนาจ แต่ในความเข้าใจของผม ความรุนแรงไม่ใช่อำนาจ ไม่ใช่ความขัดแย้ง แต่เป็นจุดจบของสิ่งเหล่านั้น
     ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่อผู้คนที่มาอยู่ร่วมกันในสังคมมีความปรารถนาที่แตกต่างกัน ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งได้เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งบางครั้งมนุษย์เลือกใช้ความรุนแรงมายุติความขัดแย้ง เป็นเหตุให้เกิดความคิดว่าความรุนแรงคือความขัดแย้ง หรือหนักกว่านั้นคือเกิดความเข้าใจว่าความรุนแรงเป็นเรื่องธรรมชาติไปด้วย ผมจึงอยากชี้ให้เห็นความแตกต่างที่สำคัญว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ความรุนแรงไม่ใช่ เพราะความขัดแย้งอาจคลี่คลายลงด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช้ความรุนแรงได้
     ในทำนองเดียวกัน ความรุนแรงก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกับอำนาจ หากอำนาจหมายถึงความสามารถที่จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งทำตามความต้องการของเราได้ อำนาจก็ไม่จำเป็นต้องได้มาจากความรุนแรง เช่น ความรักก็เป็นพลังอำนาจแบบหนึ่ง เป็นแรงผลักดันที่จะทำให้เรายอมเสียสละบางอย่างเพื่อคนที่เรารัก (ดูได้จากเวลาที่สังคมต้องการให้เราทำอะไรสักอย่าง ก็มักอ้างในนามของความรักต่อ... เพราะเชื่อว่าจะนำไปสู่สิ่งที่ต้องการได้ เป็นต้น)
     ผมคิดว่าความรุนแรงเป็นจุดจบของอำนาจเสียด้วยซ้ำ เพราะการต้องใช้ความรุนแรงบังคับนั้นมักหมายความว่าเราไม่มีอำนาจ (หมดความสามารถที่จะทำให้อีกฝ่ายทำตามความต้องการของเราได้) แล้ว




ฐานคิดเรื่องความรุนแรง
     เพื่อทำความเข้าใจฐานคิดเรื่องความรุนแรง ผมจะอธิบายโดยอาศัยตัวแบบในทางภาษาซึ่งประกอบด้วยประธาน กริยาและกรรม เช่น นาย ก. ฆ่านางสาว ข. สามารถแยกได้ตามตัวแบบคือ นาย ก. เป็นประธาน ฆ่าเป็นกริยา และกรรมคือนางสาว ข. คำถามต่อไปก็คือ 1) ประธานมีหรือเป็นอะไรได้บ้าง 2) กริยาของความรุนแรงทำงานอย่างไร และ 3) ตัวกรรมนั้นได้รับผลอะไรได้บ้าง

ประธาน
     จากตัวอย่างข้างต้น นาย ก. ถือเป็นผู้กระทำการ (agency) ส่วนนี้จะถูกมองเห็นได้ชัดที่สุด และยังถูกแยกย่อยออกไปได้อีก คือถ้าเราเป็นตำรวจ ก็ต้องถามนาย ก. ต่อว่าเจตนาฆ่านางสาว ข. หรือเปล่า ถ้าหากใช่ ก็เป็นคดีฆาตกรรม แต่ถ้าไม่ ก็อาจเป็นคดีอุบัติเหตุ

     และยังมีคำถามต่อไปได้อีกว่าต้องมีแต่ผู้กระทำการเท่านั้นหรือที่ สามารถเป็นประธานของความรุนแรงได้ คำตอบคือไม่ใช่เสมอไป ประธานสามารถแยกออกได้เป็นสองประเภท ประเภทแรกทำการจากเหตุผลของตัวผู้กระทำการเอง เช่น อยากได้ทรัพย์ ประเภทที่สองคือตัวโครงสร้าง ยกตัวอย่างเพชฌฆาตที่ทำหน้าที่ประหารชีวิตนักโทษ เขาต้องทำตามโครงสร้างทางสังคมที่กำหนดให้เขาเป็น หมายความว่าต่อให้เปลี่ยนผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้หรือเปลี่ยนผู้กระทำการไป สักกี่คน ความรุนแรงแบบนี้ก็ยังต้องมีอยู่ต่อไป โครงสร้างทางสังคมจึงมีส่วนที่ก่อให้เกิดความรุนแรงได้ด้วย
กริยา
     กริยาหรือการทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นนั้นแบ่งออกเป็นสองแบบเหมือนกัน คือแบบ anatomy กับ physiology แบบแรกเป็นการโจมตีอวัยวะต่างๆ ของร่างกายโดยตรง แต่แบบหลังจะเป็นการขัดขวางหรือสกัดไม่ให้อวัยวะต่างๆ สามารถทำงานได้ตามปกติ

     เช่น การฆ่านางสาว ข. ของนาย ก. ถ้าเป็นแบบ anatomy ก็หมายความว่านาย ก. ทำให้กระสุนปืนแล่นจากปากกระบอกปืนของตนเองทะลุเข้าสู่อกของนางสาว ข. ทำให้เสียชีวิต แต่ถ้าเป็นแบบ physiology นาย ก. สามารถฆ่านางสาว ข. โดยวิธีอื่นที่ทำให้ร่างกายของนางสาว ข. ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เช่น อาจจะล้อมบ้านไว้ไม่ให้เข้าออกหรือไม่ให้คนอื่นขายอาหารให้ จนในที่สุด นางสาว ข. ต้องอดตาย ดูเผินๆ เหมือนนาย ก. จะไม่ได้กระทำความรุนแรงอะไรต่อนางสาว ข. แต่ผลที่เกิดขึ้นก็ทำให้นางสาว ข. ตายได้เหมือนกัน
พัฒนาการความรุนแรงแบบ anatomy
     ประวัติ ศาสตร์การใช้อาวุธของมนุษยชาติสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการความรุนแรงแบบ anatomy (หรือวิธีที่มนุษย์คิดค้นนำมาทำร้ายกัน) ว่ามีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ซึ่งจำแนกตามลำดับประวัติศาสตร์ออกได้เป็น 6 อย่างคือ การทุบทำลาย การตัดขาด การแทงหรือทะลุทะลวง การเผา การวางยาพิษและการทำให้ระเหิด
     ถ้าดูจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลที่กล่าวว่าเคนสังหารเอเบลโดยการใช้ก้อนหิน ทุบ ก็แปลว่า first murder ของมนุษย์คือการทุบทำลาย หลังจากนั้น จึงเป็นการฟันหรือการตัดต่างๆ นานา อาวุธที่ใช้ก็เป็นจำพวกดาบ โดยดูได้จากประวัติศาสตร์การลงทัณฑ์ เช่น การตัดมือ ตัดแขน แยกร่าง ต่อมาคือการแทง เช่น ด้วยมีดหรือกริช จนมาถึงการเผา เช่น การเผาแม่มด การวางยาพิษประเภทต่างๆ จนถึงท้ายสุดคือการทำให้ระเหิดหายไปโดยการใช้ปรมาณู
     สิ่งเหล่านี้บอกเราว่ามนุษยชาติได้ใช้ความอุตสาหะพยายามมากมายตลอดมาใน การทำให้การทำร้ายประหัตประหารกันง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แค่ดูจากอาวุธที่ใช้เพื่อทำลาย anatomy ของมนุษย์ก็น่าทึ่งมาก เช่น เราพัฒนาจากการใช้ดาบ เป็นกระสุนปืน ไปสู่แก๊ซพิษ พัฒนาระเบิดปรมาณู จนกระทั่งถึงความก้าวหน้าทางอาวุธชีวภาพ
รูปแบบความรุนแรงแบบ physiology
     ในแบบ physiology หรือว่าการทำให้ร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกตินั้น ก็สามารถทำได้หลายวิธี ที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้เป็นความรุนแรงที่แทบจะมองไม่เห็นเลย ได้แก่ การไม่ให้อาหาร (ไม่อนุญาตให้เพาะปลูก ไม่ให้จับปลา) การไม่ให้น้ำ (เช่น การสร้างเขื่อนของประเทศจีนทำให้สามารถควบคุมการไหลของแม่น้ำโขง ส่งผลต่อการมีหรือไม่มีน้ำใช้ในประเทศแถบลุ่มน้ำโขงตอนล่างทั้งหมด หรือการทำให้น้ำเป็นพิษ เช่นโรงงานน้ำตาลปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ) การทำให้อากาศเสีย (เช่น การที่อุตสาหกรรมที่แม่เมาะปล่อยควันพิษจนทำให้ชาวบ้านมีปริมาณตะกั่วในปอด สะสมมากผิดปกติ) หรือการไม่ให้ยา (เช่น การขายยาด้วยราคาสูงเกินกว่าที่จะซื้อหามารักษา หรือการที่อเมริกาแซงก์ชั่นอิรักด้วยการไม่ให้ยาที่ส่งผลให้เด็กที่ป่วยใน อิรักล้มตายจำนวนมาก)

กรรม
     กรรมหรือเหยื่อก็แบ่งได้เป็นสองส่วนอีกเหมือนกัน คือผลที่เกิดทางกายและผลที่เกิดทางใจ และควรดูด้วยว่าความรุนแรงนั้นส่งผลต่อเหยื่อแต่เพียงผู้เดียวหรือเกิดต่อผู้ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเหยื่อด้วย (ใครบ้างที่ได้รับผล) สมมติว่าเราเปลี่ยนตัวอย่างมาเป็นนาย ก. ข่มขืนนางสาว ข. ผลที่เกิดขึ้นจะไม่ได้เป็นเรื่องของร่างกายของเหยื่อเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดแผลทางใจในระยะยาวและส่งผลสะเทือนไปถึงครอบครัวและผู้ที่ สัมพันธ์กับนางสาว ข. ด้วย

Concept เรื่องความรุนแรงใช้ทำความเข้าใจสังคมในเรื่องอะไรได้บ้าง
     ความ รุนแรงสามารถใช้อธิบายหรือทำความเข้าใจเรื่องทางการเมืองและสังคมได้สารพัด อย่าง ตั้งแต่หน่วยย่อยไปจนถึงระดับรัฐและระหว่างรัฐ กรณีความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นมักจะมีเรื่องของอำนาจและความขัดแย้งเข้ามาเกี่ยว ข้อง ซึ่งทำให้ในแต่ละเรื่องราวมีรายละเอียด มีเบื้องหลังและมีความซับซ้อนที่แตกต่างกัน
     ยกตัวอย่างเรื่องความขัดแย้งในครอบครัว สมมุติว่าพ่อเป็นกรรมกร แล้ววันหนึ่ง บริษัทเจ๊งจากการที่เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นผลให้พ่อตกงานแล้วก็เกิดความเครียด พอเครียด ก็กินเหล้า (ตามสูตร สสส.) เมื่อไม่มีเงินกินเหล้า ก็ต้องเอาจากภรรยา เมื่อภรรยาไม่ให้ ก็เกิดความขัดแย้ง เกิดความโมโห อับอาย (ที่ต้องเกาะเมียกิน) ผนวกกับความเมาด้วย ทำให้ทางออกคลี่คลายตัวไปสู่ความรุนแรงคือการทะเลาะทุบตีภรรยา กรรมหรือเหยื่อโดยตรงคือภรรยา แต่ความรุนแรงนั้นอาจส่งผลไปถึงคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับเหยื่อด้วย เช่น ถ้าลูกมาเห็น ก็อาจเป็นการฝังภาพความรุนแรงในครอบครัวต่อเด็ก หรือเกิดความรู้สึกที่เป็นลบกับพ่อ เป็นต้น
     สิ่งที่น่าสนใจก็คือการจะทำความเข้าใจต่อเหตุที่ก่อให้เกิดความรุนแรง นั้น ไม่สามารถดูจากผู้กระทำการโดยตรงแต่เพียงอย่างเดียว เหตุที่มาของความรุนแรงยังแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ระดับ ระดับแรกเป็นเรื่องของตัวบุคคลหรือ agency เพียงอย่างเดียว เช่น การที่นาย ก. ฆ่านางสาว ข. เพื่อชิงทรัพย์ ก็อาจถือเป็นเหตุจากความเลวของนาย ก. เอง ส่วนระดับสองคือระดับโครงสร้างต่างๆ ที่อยู่เหนือผู้กระทำการขึ้นไป เช่น กฎหมาย หน้าที่ สภาพเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ได้ก่อความรุนแรงโดยตรง แต่ก็อาจเป็นมือที่มองไม่เห็นที่เอื้อให้เกิดความรุนแรงทางสังคมได้ ส่วนระดับสุดท้ายคือระดับวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องของความเชื่อต่างๆ และเป็นส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้ยากที่สุด
     ตัวอย่าง เช่น หากฝ่ายสามีคิดตบตีภรรยาในที่สาธารณะ ก็มักจะอ้างว่า "เรื่องของผัวเมีย อย่ามายุ่ง" ซึ่งสามารถทำให้คนรอบข้างถอยห่าง เพราะตรงกับความเข้าใจของสังคมที่ว่าเรื่องของครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว คนอื่นในสังคมไม่เกี่ยว แล้วยังมีความเชื่อเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่เหนือผู้หญิง จึงทำให้เกิดความรุนแรงได้ง่ายยิ่งขึ้นอีก ซึ่งหากจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อดังกล่าว ย่อมเกิดขึ้นได้ยากกว่าการจับนาย ก. เข้าคุกหรือการเปลี่ยนกฎหมายแน่นอน
     ท่ามกลางสังคมโลกที่ทวีความซับซ้อน การพยายามทำความเข้าใจถึงที่มาของความรุนแรงอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะมิติทางสังคมวัฒนธรรม ความเชื่อที่แตกต่างกัน รวมทั้งรูปแบบต่างๆ ของความรุนแรงโดยเฉพาะรูปแบบที่พรางตัวอยู่ อาจจะช่วยให้เราเข้าใจและมองเห็นทางออกที่จะนำไปสู่การลดระดับความรุนแรงที่ ยังคงฝังแฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกเมื่อเชื่อวันได้


ความรุนแรงในสังคมไทย
        การกระทำรุนแรงในสังคมไทยเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุ ต่าง ๆ กัน ความรุนแรงบางอย่างเป็นผลมาจากความคิดความเชื่อของคนในสังคมที่กระทำระหว่าง กัน บางอย่างเกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติของคนในสังคม บางอย่างเป็นความรุนแรงที่กระทำระหว่างคนใกล้ชิด และบางอย่างเป็นภัยทางสังคมซึ่งพบเห็นได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน
        การกระทำรุนแรงอันเกิดจากความคิดความเชื่อของคนในสังคม เป็น สิ่งละเอียดอ่อน บางอย่างแฝงมากับความเชื่อในรูปแบบของค่านิยม หรือสืบทอดผ่านทางวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละสังคม จนเกิดการยอมรับ และมักมองข้ามลักษณะความรุนแรงที่ปรากฏ เช่น การนิยมเจาะหูให้แก่ลูกผู้หญิง การนิยมมีรอยสักแก่ผิวหนังของตนเอง สิ่งเหล่านี้ในสังคมมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ทั้ง ๆ ที่เป็นความรุนแรงที่กระทำขึ้นระหว่างแม่ต่อลูกหรือกระทำกับตนเอง
        การกระทำรุนแรงระหว่างกันตามความเชื่อของไทยโดย ทั่วไปแม้จะไม่ รุนแรงถึงขนาดทุบตีและยิงทิ้งกันต่อหน้าต่อตาผู้อื่นอันเนื่องมาจากการ ฝ่าฝืนกฎ หรือลวงมาฆ่าหมู่อย่างลัทธิบางลัทธิในภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก แต่ความเชื่อบางอย่างในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยก็มีลักษณะการกระทำรุนแรงจากผลของความเชื่อมิใช่น้อย ในอดีตเวลาก่อสร้างเจดีย์หรือพระธาตุบางแห่งต้องฝังคนเป็น ๆ ข้างใต้แท่นฐาน หรือบางแห่งมีวิธีการรักษาคนเป็นโรคจิตด้วยด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์ มีการไล่ผีให้ออกจากตัวโดยการเฆี่ยนตีหรือราดด้วยน้ำร้อน บางแห่งมีพิธีเลี้ยงผีอารักษ์เมืองและมีการฆ่าสัตว์สังเวยแสดงความรุนแรง หรือตัวอย่างการขับไล่ผู้สงสัยว่าเป็นผีปอบไปอยู่นอกเมืองหรือที่ห่างไกลผู้ คน ใช้วิธีการที่รุนแรง เช่น ขว้างปา รุมทำร้าย หรือรื้อถอนบ้าน ซึ่งเกิดผลร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้งร่างกายและจิตใจ
        การกระทำรุนแรงที่เกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติ การกระทำรุนแรงเช่นนี้มักเกิดจากคนที่มีจิตใจไม่ปกติซึ่งปะปนอยู่ในสังคม มีทั้งที่เราสังเกตเห็นและไม่เห็น ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของภาวะจิตใจ เช่น คนเป็นโรคจิตประเภทคลั่งสลับซึม ที่ก่อเหตุทำร้ายแก่คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวจนเป็นข่าวให้เห็นอยู่เสมอ คนที่คับข้องใจและแสดงความก้าวร้าวต่อภาวะคับข้องใจด้วยการกระทำรุนแรงต่อตน เองโดยการฆ่าตัวตายในสังคมไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลที่ศึกษาพบว่าคนไทยใช้วิธีฆ่าตัวตายโดยการกินยามากถึง 70 % รอง ลงมาคือแทงตัวเอง กระโดดจากที่สูง ยิงตัวตายและผูกคอตาย นอกจากนั้นยังมีการกระทำรุนแรงอันเกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติให้เห็นอีกมาก มาย เช่น คนเป็นเอดส์แพร่เชื้อโดยใช้เข็มวิ่งไล่แทงคนอื่น คนวิปริตทางเพศโชว์อวัยวะเพศต่อหน้าดาราที่ตนคลั่งไคล้จนเกิดความหวาดกลัว เป็นต้น
        การกระทำรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างคนใกล้ชิด ปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขั้นส่วนใหญ่จะเกิดในครอบครัว โรงเรียน หรือชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกัน ลักษณะความรุนแรงมีตั้งแต่ดุด่าด้วยถ้อยคำ ลงโทษด้วยวิธีการแปลก ๆ ทำร้ายร่างกาย และคุกคามทางเพศ ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กและผู้หญิง 






สถานการณ์การกระทำรุนแรง
        จาก การศึกษาวิจัยได้พบข้อมูลของการกระทำรุนแรงระหว่างคนใกล้ชิดที่ น่าสนใจหลายประการ เช่น การข่มขืนผู้หญิงส่วนใหญ่เกิดกับวัยผู้ใหญ่คืออายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงเวลา 18.00 – 24.00 น. ส่วนใหญ่เกิดเหตุในโรงแรมและเป็นการกระทำของญาติหรือเพื่อนสนิท โดยมักมีการดื่มสุราก่อนก่อเหตุเสมอ สำหรับการละเมิดทางเพศในโรงเรียน เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ไม่อบอุ่นหรือแตกแยก และครอบครัวใหม่ไม่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน โดยทางโรงเรียนไม่มีกฎระเบียบและวิธีการจัดการเรียนการสอนหรือมีความร่วมมือ กับผู้ปกครองในการป้องกันปัญหา แม้แต่ในครอบครัวเองก็เกิดความรุนแรงในการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะได้รับการเลี้ยงดูด้วยวิธีการที่รุนแรงในด้านจิตใจและร่างกาย ที่น่าสนใจคือผลการวิจัยพบว่าเกิดการรับรู้ที่ต่างกันระหว่างเด็กกับผู้ ปกครอง กล่าวคือเด็กจะรับรู้ว่าถูกเลี้ยงดูด้วยวิธีการรุนแรงมากกว่าผู้ปกครองที่ รับรู้ว่าได้กระทำรุนแรงกับเด็ก และผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวจะถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจมากที่สุด รองลงมาคือทางเพศและทางร่างกาย ส่วนใหญ่ถูกกระทำโดยสามี 



รูปแบบของความรุนแรงที่เราพบเห็นมีหลายรูปแบบ คือ
ความ รุนแรงต่อสตรี หมายถึง การกระทำใด ๆ ก็ตามที่เป็นผล หรืออาจเป็นผลให้เกิดการทำร้ายร่างกาย ทางจิตใจ และทางเพศ เป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้งการขู่เข็ญกีดกันจำกัดเสรีภาพ ทั้งในที่สาธารณะและในชีวิตส่วนตัว
ความรุนแรงต่อเด็ก หมายถึงการที่เด็กได้รับการปฏิบัติจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกครอบครัว จนเป็นเหตุให้เด็กได้รับอันตราย บาดเจ็บ กระทบกระเทือนทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางเพศ ตลอดจนการถูกละเลย ไม่สนองตอบความต้องการพื้นฐาน เช่น อาหาร การดูแลสุขภาพ และการอบรมเลี้ยงดู

สิ่งบอกเหตุ 8 ประการ ของพ่อแม่ที่มีแนวโน้มในการทำร้ายบุตร
1. ทะเลาะเบาะแว้ง ตบตีกันตลอดเวลา
2. ติดยาเสพติด
3. ถูกทอดทิ้งตั้งแต่เด็ก เก็บกด และขาดที่พึ่ง
4. คิดว่าลูกเป็นสมบัติของตนเอง
5. หมกมุ่นเรื่องเพศ
6. ไม่ผูกพันธ์กับลูก
7. เมาสุราเป็นอาจิณ
8. ชอบเล่นการพนัน

ความรุนแรงต่อร่างกาย เป็นความรุนแรงที่ใช้กำลัง หรืออุปกรณ์ใด ๆ เป็นอาวุธ แล้วมีผลทำให้ผู้ถูกกระทำบาดเจ็บต่อร่างกาย เช่น การตบ ผลัก หยิก กัด ขว้าง ปา ทุบ ตี เตะ ต่อย และร้ายแรงถึงขั้นใช้อาวุธจนนำไปสู่การฆาตกรรม ซึ่งระดับความรุนแรงจะแตกต่างกันออกไป ทำให้ผู้เป็นเหยื่อเกิดอาการฟกช้ำดำเขียว บวมช้ำ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กระดูกหัก และเสียชีวิตได้ที่รุนแรงที่สุดคือความรุนแรงทางเพศ หมายถึง การกระทำในในลักษณะข่มขืน ลวนลามทางเพศ บังคับให้ร่วมหลับนอน และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอมพร้อมใจ การละเมิดสิทธิทางเพศต่าง ๆ รวมตั้งแต่การอวดอวัยวะเพศ การจับต้อง ลูบคลำ ทั้งการทำกับเด็ก หรือว่าให้เด็ก จับอวัยวะเพศของตน ให้เด็กดูสื่อลามก ถ่ายรูปโป๊เด็ก การสำเร็จความใคร่กับเด็ก หรือกระทำต่อหน้าเด็ก การใช้ปากกับอวัยวะเพศเด็กหรือให้เด็กใช้กับตน ถือว่าเป็นการลวนลามทางเพศทั้งสิ้น

ส่วน ความรุนแรงต่อจิตใจ คือ การกระทำหรือละเว้นไม่กระทำ ทอดทิ้ง เพิกเฉย ไม่ดูแลไม่ใส่ใจ ไม่ให้เกียรติ การทำร้ายจิตใจมีผลทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับความเสียใจ เสียสิทธิและเสรีภาพ เช่น การพูดจาดูถูก ด่าทอ เหยียดหยาม การก้าวร้าวทางวาจา การรบกวนรังควาน ปล่อยปละทอดทิ้ง ปฏิเสธสิทธิที่พึงมีพึงได้ การแสดงความเป็นเจ้าของที่มากเกินควร การริดรอนสิทธิด้านทรัพย์สินเงินทอง และทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น

ลักษณะของพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในครอบครัว
1. ความก้าวร้าวทางวาจา ได้แก่
- ดูถูกเหยียดหยาม
- ตะโกนใส่
- ตั้งฉายา
โดยมีสาเหตุมาจาก
- การต้องการควบคุมผู้อื่น
- การต้องการแสดงพลังความเป็นชาย
- อิจฉาริษยาคู่ของตน
- คู่สมรสไม่ปรองดองกัน

2. ความก้าวร้าวต่อร่างกาย ได้แก่
- ผลัก
- ตบตี
- ผลักกระแทก
โดยมีสาเหตุมาจาก
- การยอมรับและนำเอาการควบคุม โดยวิธีการที่รุนแรงมาใช้
- เลียนแบบการแสดงความก้าวร้าวรุนแรงต่อร่างกาย
- ถูกกระทำทารุณกรรมตั้งแต่เด็ก
- มีบุคลิกภาพที่นิยมความก้าวร้าว
- ติดสุรา



3.ความก้าวร้าวขั้นรุนแรงที่รุนแรงถึงฆาตกรรม ได้แก่
- ทุบตี
- เตะต่อย
- ทุบตีด้วยวัตถุ หรืออาวุธ
โดยมีสาเหตุมาจาก
- การมีบุคลิกภาพแปรปรวน
- เก็บอารมณ์ไม่อยู่
- มีความยกย่องนับถือตนเองต่ำ


ทำไมผู้ชายถึงทำร้ายผู้หญิง?
พฤติกรรมของความก้าวร้าวและรุนแรงมาจากปูมหลังหรือภูมิหลังของครอบครัว จากบุคลิกภาพส่วนตัว

ผู้ที่เติบโตมาจากครอบครัวที่ไม่ปกติ จากครอบครัวที่นิจากครอบครัวที่นิวในการจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ก็จะใช้ความรุนแรงในการจัดการกับปัญหาในชีวิตตัวเองเช่นเดียวกัน

ผนวกกับความกดดันจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ยิ่งส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุนแรงมากขึ้น


ผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงมักจะมีความเชื่อว่าความรุนแรงเป็นวิธีเดียวที่จะสามารถควบคุมผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลที่ดี เยี่ยม

และมักจะไม่รู้สึกเจ็บปวดกับผลลัพธ์หรือการกระทำของตัวเอง

ผู้ชายที่เข้าข่ายมีพฤติกรรมรุนแรงคือบุคคลดังต่อไปนี้
-บิดามารดาทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่เสมอ
-เป็นบุคคลที่ไม่มีเหตุผล ไม่รับฟังความคิดเห็น ยึดตนเองเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับผิด และชอบกล่าวโทษผู้อื่น
- เป็นบุคคลที่ไม่เคยยอมรับนับถือผู้หญิง ไม่เคยรู้สึกว่าผู้หญิงเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ให้เกียรติ พูดดูถูกผู้หญิง และมีความเชื่อว่าผู้หญิงเป็นเครื่องสนองตอบทางเพศ และใช้กำลังบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ รวมถึงใช้ความรุนแรงเมื่อมีเพศสัมพันธ์
-เป็นบุคคลที่ไม่ยอมรับ นับถือตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีอำนาจ และไม่สามารถจัดการกับปัญหาชีวิต ทั้งที่ภาพลักษณ์ภายนอกนั้นเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จ
-เป็นบุคคลที่ชอบคุยโว โอ้อวดว่าเก่ง รวย ชอบบังคับ ควบคุม ออกคำสั่ง
-เป็นบุคคลที่มักโทษว่าความ ก้าวร้าวรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากความเครียด และความกดดันบีบคั้นที่รุนแรงจากชีวิตคู่ จากสุรา สารเสพติด ฯลฯ
-มีพฤติกรรมบางอย่างที่มีสัญญาณเตือนว่าเป็นคนที่หวาดระแวง แสดงความเป็นเจ้าของผู้อื่น หึงหวง ไม่ให้แฟนหรือภรรยาคบหากับผู้อื่น
- เป็นคนใจร้อน โกรธง่าย ทำร้ายผู้อื่น ชอบทารุณกรรมสัตว์


ทำไมผู้หญิงยังคงอดทนต่อการถูกทำร้าย?
เป็นคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยมากว่า ทำไมผู้หญิงยังคงอดทนอยู่ภายใต้สัมพันธภาพของความรุนแรง

คำตอบที่ได้รับคือ
ผู้หญิง ที่เป็นเหยื่อยังต้องดำรงชีวิตอยู่ และต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือ โดยเฉพาะจากปัญหาทางเศรษฐกิจจากสามีหรือผู้ที่ทำร้ายเธอนั่นเอง

บางคนต้องทนเพราะลูก ไม่มีที่ปรึกษา พึ่งตนเองก็ไม่ได้

ใน ขณะที่บางคนรู้สึกว่าตนเองบกพร่องต่อหน้าที่ หรือเป็นต้นเหตุที่ทำให้สามีโกรธ เพราะถูกสอนมาว่าให้มีหน้าที่คอยปรนนิบัติ บริการสามี และต้องอดทน

ดังนั้น ผู้หญิงก็จะถือว่าการถูกกระทำรุนแรงจากสามีเป็นเรื่องปกติ และเป็นรูปแบบหนึ่งของการสั่งสอนนั่นเอง



สิ่งสำคัญคือผู้หญิงเหล่านี้เป็นผู้ที่ขาดการยอมรับนับถือในตัวเอง และยังคงมีความรักเต็มเปี่ยมให้กับชายผู้ทำร้ายเธอ

ทั้งที่ความจริงไม่มีใครสนุกกับการถูกทำร้ายและไม่มีสาเหตุ อื่นใดที่ต้องอดทนอยู่กับความเจ็บปวด ยกเว้นแต่จะมีทางออกที่ดีสำหรับชีวิต เป็นเหตุผลที่สลับซับซ้อนยากเกินกว่าจะประกาศให้ผู้อื่นล่วงรู้ถึงเหตุผลและ ความรู้สึกได้ เพราะผู้หญิงจะรู้สึกโดดเดี่ยว อึดอัดใจ อดสู อับอาย ผิดหวังอย่างรุนแรง ไม่กล้าบอกใคร กลัวถูกตำหนิว่าเป็นผู้ผิด และเป็นผู้ล้มเหลวที่ไม่สามารถทำให้ครอบครัวเป็นปกติสุขได้
แต่ยังคงมีความหวังอยู่ลึก ๆ ว่า สามีจะเปลี่ยนพฤติกรรมกลายเป็นคนดีได้
การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคม
"ความ รุนแรงในสังคมไทยและทางออก" ว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม เนื่องจากประชาชนขาดคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งระบบการศึกษาของประเทศไทยสอนให้คนยึดติดในรูปแบบมากกว่า สาระ เช่น การวิ่งเต้นเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง เป็นต้น ในขณะเดียวกันระบบการศึกษาจะมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ในตำราเป็น หลัก แต่ไม่ได้ส่งเสริมให้เรียนรู้ในตัวตนของตนเองและผู้อื่น จึงทำให้คนที่มีความรู้มองบุคคลที่ไม่ได้เรียนหนังสือเป็นคนด้อยค่า ซึ่งทั้งที่จริงแล้วคนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

น.พ.ประเวศกล่าวว่า ดังนั้นระบบการศึกษาจึงจะต้องเน้นการสอนความรู้ทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต คุณธรรมจริยธรรม การรู้จักตนเองและผู้อื่นควบคู่ให้มากขึ้น จึงจะทำให้สังคมเกิดความเท่าเทียมกันและเกิดความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมจะลดลงได้ ซึ่งสังคมต้องหามาตรการป้องกันเรื่องร้ายแรงอย่างนี้ เพราะโรงเรียนเป็นที่เติบโตของเยาวชน ถ้ามีความรุนแรงก็จะสร้างบาดแผลในจิตใจเด็กไปตลอด ดังนั้นระบบการเรียนรู้

หากทุกคนมุ่งเป้าเรื่องการแสวงหา วิชาความรู้เพียงอย่างเดียว ไม่ได้สนใจเรื่องศีลธรรม คุณธรรม เด็กและครูจะเกิดความเครียดไปหมด ดังนั้นตนคิดว่าต้องปรับระบบการศึกษาในโรงเรียน โดยให้นักเรียนเรียนรู้วิถีชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่มุ่งแต่วิชา อีกทั้งโรงเรียนต้องระมัดระวังเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมเพื่อ ป้องกันไม่ให้แพร่มาสู่โรงเรียน

น.พ.ประเวศกล่าวว่า ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาความรุนแรงนั้น ตนขอเสนอแนวทางไว้ 8 ข้อ ได้แก่

1.มหาวิทยาลัยต่างๆควรที่จะจัดตั้ง สถาบันสันติศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม ซึ่งมหาวิทยาลัยในประเทศไทยยังไม่มีสถาบันที่วิจัยในเรื่องดังกล่าว

2.การสื่อสารที่ดี สื่อต้องทำหน้าที่ตระหนักรู้ให้กับประชาชนในเรื่องของความดี คุณธรรมจริยธรรม มากกว่าส่งเสริมการบริโภคนิยม

3.การเฝ้าระวังร่วมมือกันทุกภาคส่วนช่วยกันดูแลในเรื่องของความรุนแรง

4.ส่งเสริมวิธีการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ในโรงเรียน หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานอื่นๆ

5.ทิศทางการพัฒนาประเทศจะต้องลดกระแสการบริโภควัตถุนิยม หันกลับมาสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง

6.ต้องกระจายอำนาจไปสู่ชุมชน ท้องถิ่นให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง

7.องค์กรในประเทศมีการบริหารแบบแนว ดิ่ง ไม่ได้มาจากความคิดเห็นระดับล่าง จึงทำให้ประเทศไทยเกิดความรุนแรง ความขัดแย้ง ควรที่จะปรับเปลี่ยนการบริหาร และ

8.รัฐบาล ภาคสังคม ระบบการศึกษา ต้องส่งเสริมความรู้ให้ประชาชนไทยปฏิวัติจิตสำนึกของตนเองให้หันมาเห็นใจใน ความเป็นมนุษย์ด้วยกัน ตลอดจนหันมาพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแทนการใช้ความรุนแรง

"คนในสังคมไทยต้องปรับโลกทัศน์ใน การมองคนในสังคมด้วยกัน เพราะคนไทยยังมีจิตสำนึกที่แคบ คิดแต่ในหมู่พรรคพวกของตนเอง เพราะสังคมไทยกำลังจะไปไม่ไหวแล้ว มองแต่ประโยชน์ของตนเองก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งจุดนี้ต้องปฏิวัติจิตสำนึกใหม่ให้เป็นจิตสำนึกที่ใหญ่คิดถึงเพื่อน มนุษย์ทั้งหมดอย่างเท่าเทียมกัน เคารพศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นคนของทุกคนในชุมชน และดำเนินวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ อยากให้คนไทยหันมาสนใจเรื่องนี้ไม่ใช่มุ่งแต่คิดว่าทำอย่างไรจะรวย ต่อไปก็จะเกิดความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ" 




อุปสรรคของการหลีกหนีความรุนแรงในครอบครัว
เหตุผลหลัก 3 ประการที่ผู้หญิงทั่วไปยังคงตกอยู่ในวังวนเหล่านี้
1. การขาดแคลนทรัพยากรหรือปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
- ผู้หญิงส่วนมากจะมีลูกอย่างน้อยหนึ่งคน
- ผู้หญิงจำนวนมากไม่ได้ประกอบอาชีพนอกบ้าน
- ผู้หญิงส่วนมากไม่มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินเพียงลำพัง
- ผู้หญิงบางคนไม่มีเงินสดหรือเงินในบัญชีหมุนเวียนเพียงพอ
- ผู้หญิงไม่กล้าทิ้งครอบครัวที่ต้องดูแลไปเพราะนั่นหมายถึงต้องสูญเสียลูกไปด้วย
- ผู้หญิงพร้อมจะเผชิญหน้ากับมาตรฐานการมีชีวิตอยู่ที่ลดลงของตนเอง และลูก



2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
- ผู้ให้คำปรึกษาหรือทนายมักจะแนะนำให้รักษาชีวิตการแต่งงานมากกว่าจะเป็นผู้ยุติความรุนแรง
- ตำรวจไม่ได้สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้หญิง แต่จะเข้ามาดูแลความรุนแรงในครอบครัวในกรณีที่เกิดการทะเลาะวิวาทเท่านั้น
- ตำรวจพยายามตักเตือนและแนะนำผู้หญิงหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ ทำให้เกิดการกระทำ รุนแรง อัยการเองก็มักฝืนใจที่ต้องดำเนินคดี และตัดสินเป็นค่าปรับเมื่อมีการพิสูจน์ว่า มีการกระทำทารุณ หรืออาจภาคทัณฑ์ หรือรอลงอาญาเท่านั้น
- ไม่มีที่พักเพียงพอที่จะดูแลผู้หญิงเหล่านี้ให้ปลอดภัยจากการกระทำทารุณซ้ำซากหรือการข่มขืนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

3. สิ่งที่ปฏิบัติกันสืบทอดกันมา
- ผู้หญิงส่วนมากไม่เชื่อว่าการหย่าร้างหรือการแยกกันอยู่จะเป็นทางเลือกที่ทำให้สามารถ มีชีวิตอยู่ต่อไปได้
- ผู้หญิงส่วนมากเชื่อว่าครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงคน เดียวเป็นสิ่งที่ยอม รับได้ยาก ถึงแม้ว่า จะมีพ่อที่ก้าวร้าวหรือรุนแรงก็ยังดีกว่าไม่มีพ่อเลย
- ผู้หญิงส่วนมากเชื่อว่าสามารถรับผิดชอบชีวิตการแต่งงานได้ ความล้มเหลวของชีวิตการแต่งงานจะทำให้ชีวิตของผู้หญิงล้มเหลวไปด้วย
- ผู้หญิงส่วนมากกลายเป็นคนโดดเดี่ยว ห่างไกลจากเพื่อนฝูงและครอบครัว หรือกลายเป็นคนที่มีความอิจฉาริษยาหึงหวงและอยากเป็นเจ้าของที่รุนแรง หรือหลบหนีจากโลกภายนอก ความโดดเดี่ยวที่มีอยู่ทำให้ความรู้สึกต่อทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป
- ผู้หญิงส่วนมากจะอธิบายด้วยหลักและเหตุผลว่าพฤติกรรมความ รุนแรงเกิดจากการ ถูกบีบคั้นหรือความกดดัน จากแอลกฮอลล์ จากปัญหาการทำงาน การถูกเลิกจ้างงานหรือปัจจัยอื่นๆ
- ผู้หญิงส่วนมากจะถูกสอนว่าการรักษาชีวิตคู่ไว้คือสิ่งที่ มีค่า แม้ว่าการทารุณกรรม ทำให้ผู้หญิงเหนื่อยล้าตลอดเวลา แต่ระหว่างที่ไม่มีสภาวะของความรุนแรง ผู้ชายจะ ทำให้ผู้หญิงใฝ่ฝันถึงชีวิตรักที่โรแมนติค และทำให้เชื่อว่าจริง ๆ แล้วพื้นฐาน ผู้ชายคนนี้เป็นคนดี และถ้าเชื่อเช่นนี้ก็จะสำนึกตลอดเวลาว่าเขาเป็นคนดี และความเชื่อนี้จะยังคงอยู่ต่อไป โดยจะอธิบายด้วยหลักและเหตุผลที่ดีถึงความรุนแรงที่เธอได้รับ จนกระทั่งมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นที่เกิดจากการกระทำของผู้ชาย

ความอดทนต่อความรุนแรงที่อยู่เหนือเหตุผล
ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่อยากตกอยู่สภาพที่ตนเองถูกกระทำรุนแรง ซ้ำซาก โดยที่ตนเองไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้อะไรเลย ทุกคนอยากหาทางออกและยุติความรุนแรงให้เร็วที่สุด เพียงแต่ใครจะหาทางออกให้กับชีวิตตัวเองได้เร็วแค่ไหนเท่านั้นเอง



องค์ประกอบที่เป็นอุปสรรคของผู้หญิงมีมากมาย ไม่ว่าการต้องพึ่งพิงเรื่องเงินทองจากสามี สรีระร่างกายที่บอบบางกว่าทำให้ขยาดสามีไม่กล้าต่อสู้ด้วย ก็เลยเข้าสู่ภาวะจำยอมให้ต้องทนต่อไป ด้วยปัจจัยและเหตุผลนานัปการ

1. อุปสรรคที่ขวางกั้นและเกี่ยวเนื่องกัน
"ก็รักเขานะ เขาก็ดี แต่หากเหล้าเข้าปากเมื่อไร ก็เป็นอย่างนี้แหละ จะห้ามเขากินก็ไม่สำเร็จ"

2.อารมณ์ที่ผูกพัน และการต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
"ก็อยู่กันมานาน ฉันก็ไม่มีบ้าน ไม่มีใครอื่น ไม่มีที่ไป"
"เขาเป็นพ่อที่ดี รักลูก รับผิดชอบเรื่องเงินทองก็ดูแลเอาใจใส่ดี"

3.ค่านิยมกับสถาบันครอบครัวและความคาดหวังของสังคมต่อการอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา
"พยายามทนเอา เห็นแก่ลูก กลัวว่าถ้าแยกทางกันลูกจะขาดความอบอุ่น"


"ฉัน ไม่ใช่คนที่ชอบระบาย มีปัญหาก็เก็บไว้กับตัว ยิ่งเป็นปัญหากับสามีก็ยิ่งไม่อยากให้ใครรู้ พ่อแม่ก็ไม่ได้บอก ถึงจะเล่าให้ฟัง เขาก็ต้องบอกให้ทนอยู่ดี เพราะอยากแต่งอยู่กินกับเขาเอง"

"เคยไปแจ้งตำรวจ แต่เขาบอกว่าผัวเมียกันก็เหมือนลิ้นกับฟัน ให้อดทนเอา ยอม ๆ เขาบ้าง คู่อื่นก็มีปัญหาเหมือนกัน"

4.สิ่งที่ตอกย้ำความรู้สึกว่าตัวเองผิด ความรู้สึกว่าตนเองเป็นสาเหตุของความรุนแรง
"พยายามคิดเหมือนกันว่า เราไปทำอะไรให้เขาโมโห ที่เขาหันมาชกเรา ก็คงเป็นเพราะเราไปต่อว่าเขาต่อหน้าคนอื่น"

ฉันหมดปัญญา แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย ก็น่าที่เขาจะโมโหเอากับฉัน"



5.อุปสรรคคือความกลัว ซึ่งเกิดขึ้นเกือบทุกกรณี
"เคยคิดจะฆ่าเขา แต่ก็กลัว กลัวจะฆ่าเขาแล้วเกิดเขาไม่ตาย เขาจะมาทำร้ายเราอีก"

สามีชอบทุบตีรุนแรง ตบตีไม่เลือก จนผวาไปหมด ใจน่ะกลัว แต่พยายามข่มความกลัว เวลาเขาแรงมาก็จะสู้กลับ"
ผู้หญิง ที่ถูกกระทำรุนแรงมีสภาพเสมือนนักโทษ แต่เป็นนักโทษที่ปราศจากกรงขัง เป็นกรงขังที่ถูกตีกรอบด้วยความคิดและความเชื่อให้เธอต้องตกอยู่ในสภาวะจำ ยอมเช่นนั้นต่อไป
"ทำไมเธอยังคงทนอยู่?"


"เธอทนอยู่เพื่ออะไร?"

"เธอต้องทนอยู่ในสภาพนี้อีกนานเท่าไร?"

"ทำไมไม่ก้าวออกมาจากชีวิตแบบนั้น?"

และ อีกหลายคำถามที่ตั้งประเด็นไปยังผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงว่าทำไมไม่ ดำเนินกฎหมายกับผู้ถูกกระทำ เพราะความรุนแรงนั้นเข้าขั้นอาชญากรรม

คำตอบที่ได้รับจากผู้หญิงเหล่านั้นมักคล้ายคลึงคือ เพราะเขาเป็น "สามี" และเป็น "พ่อของลูก"

นี่คือจุดที่ต้องนำมาขบคิดว่าเราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร ดังนั้นมีสิ่งที่ต้องทบทวนคือ

1. สิ่งที่สังคมต้องให้ความสนใจกับผู้หญิงเหล่านี้
- ความต้องการของผู้หญิงที่ถูกกระทำนั้นคืออะไร
- มาตรการและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ทุกฝ่ายพัฒนา วางแนวทางเพื่อแก้ไขและช่วยเหลือผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงนั้นสามารถตอบ สนองความต้องการของผู้ถูกกระทำอย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่ อย่างไร
2.สิ่งที่ผู้หญิงในฐานะที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวต้องการ
- ความคุ้มครองเพื่อไม่ให้ถูกกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า
- ให้มีการช่วยเหลือสามีหรือคู่รัก เพื่อที่เขาจะได้หยุดพฤติกรรมความรุนแรง และจะได้ไม่ต้องติดคุก
- ให้ที่พักพิงหลบภัยชั่วคราว
- ให้ลูกได้รับความดูแล หาต้องทิ้งครอบครัวออกมา
- ให้คำปรึกษา ความช่วยเหลือที่จะปรับตัวเข้ากับสภาพใหม่ หากตัดสินใจก้าวออกจากความรุนแรง
- ความเข้าใจหากเธอจะตัดสินใจกลับไปสู่ความสัมพันธ์ที่คนนอกทราบดีว่า จะยังคงความรุนแรงและอาจจะรุนแรงขึ้นอีก

ปัจจัยที่เอื้อต่อการตัดสินใจให้ก้าวเดินออกจากความรุนแรง ก็คือ ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ถี่ครั้งขึ้น จนถึงจุดที่คิดว่าจะไม่มีทางเปลี่ยนพฤติกรรมของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างแน่นอน และตนเองก็แก้ไขอะไรไม่ได้ รวมถึงความรุนแรงที่ลุกลามบานปลายมาถึงบุคคลที่ 3 คือ "ลูก" ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยจึงกล้าที่จะตัดสินใจก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก นอกจากนี้การได้รับความเห็นใจและความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือญาติก็เป็นอีก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงตัดสินใจที่จะต่อสู้กับปัญหา ได้ง่ายขึ้น


การคาดการณ์ความรุนแรงในครอบครัว
สัญญาณต่อไปนี้จะเกิดขึ้นก่อนที่ความก้าวร้าวที่แท้จริงจะเกิดขึ้น หรือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น


1.เขา เติบโตในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงหรือเปล่า? คน ส่วนใหญ่ที่เติบโตในครอบครัวที่ใช้ความก้าวร้าวจะเป็นเด็กที่ก้าวร้าว หรือครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่ทำร้ายกัน เด็กก็จะเติบโตและเรียนรู้ว่าพฤติกรรมความก้าวร้าวเป็นเรื่องที่ปกติ

2.
เขา ได้รับการดูแลหรือใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาหรือเปล่า? ชาย หนุ่มผู้เป็นอาชญากรที่ถูกบันทึกว่าใช้ความรุนแรง จะใช้การต่อสู้ หรือชอบแสดงออกถึงความมุทะลุและชอบที่จะแสดงการกระทำในลักษณะเดียวกันนี้กับ ภรรยาและลูก เขามีความรุนแรงแบบนี้หรือไม่? แสดงออกมากถึงปัญหาหรือความผิดหวังหรือไม่? ทารุณกรรมสัตว์หรือเปล่า? ต่อยกำแพง หรือขว้างปาสิ่งของเมื่ออารมณ์เสียหรือเปล่า? พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของบุคคลที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกก้าวร้าว ที่อยู่ในจิตใจ

3.
เขา มีพฤติกรรมดื่มแอลกฮอลล์ หรือใช้ยาอื่น ๆ หรือไม่? มี การเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมความรุนแรงและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับแอล กฮอลล์ และยา มีความตื่นตัวหรือมีความเป็นไปได้ที่จะดื่มหรือใช้ยา โดยเฉพาะถ้าปฏิเสธที่จะยอมรับว่ามีปัญหา หรือปฏิเสธที่จะได้รับการช่วยเหลือ คุณคงไม่คิดว่าคุณจะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงตัวเขาได้?

4.
เขา มีความคิดเก่าแก่ที่เด็ดเดี่ยวเกี่ยวกับว่าผู้ชายจะต้องเป็นอย่างนี้และ ผู้หญิงต้องเป็นอย่างนี้หรือเปล่า? คิดว่าผู้หญิงจะต้องอยู่กับบ้าน ดูแลสามี และทำตามที่ปรารถนาหรือที่สั่งทุกอย่างหรือเปล่า?

5.
เขา หึงหวงหรือระแวงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคุณกับคนอื่นหรือเปล่า? ไม่เพียงแต่ผู้ชายอื่นที่คุณรู้จักเท่านั้น แต่กับเพื่อนของคุณและครอบครัวของคุณ คุณจะรักษาระดับความสัมพันธ์นี้ได้หรือเปล่า? ต้องการรู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนตลอดเวลาหรือเปล่า? ต้องการให้คุณอยู่กับเขาตลอดเวลาหรือเปล่า?

6.
เขา เข้าใกล้ปืน มีด หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หรือเปล่า? มีการพูดเกี่ยวกับการใช้การต่อสู้กับคนอื่นหรือเปล่า? หรือใช้การข่มขู่เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการหรือเปล่า?

7.
เขา คาดหวังว่าคุณจะต้องทำตามคำสั่งหรือคำแนะนำของเขาหรือเปล่า? และกลายเป็นคนโกรธง่ายถ้าคุณไม่สามารถเติมเต็มในสิ่งที่ปรารถนาหรือถ้าคุณ ไม่สามารถทำในสิ่งที่เขาต้องการหรือคาดหมายได้หรือเปล่า?

8.
เขา เติบโตมาแบบสุดขั้วแบบสูงสุดหรือต่ำสุด? ถึงแม้ว่าคนสองลักษณะนี้จะแตกต่างกัน แต่ความเป็นคนสุดขั้วชนิดใดในเวลาใดเวลาหนึ่ง และทารุณกรรมสุดขั้วในอีกเวลาหนึ่งหรือไม่?



9.เมื่อ เขาโกรธ? คุณกลัวหรือไม่? ถ้า คุณพบว่าไม่มีอะไรที่เปลี่ยนความโกรธให้เป็นอีกคนหนึ่งได้ คุณทำในสิ่งที่เขาต้องการได้หรือไม่ มันค่อนข้างยากที่คุณต้องการให้เขาทำหรือเปล่า?

10.
เขาดูแลคุณอย่างหยาบคายหรือเปล่า? บังคับคุณให้ทำอะไรไม่ใช่ว่าคุณต้องการทำอะไรหรือเปล่า



  บทสรุป

        สิ่ง ที่เป็นปัญหาจากความรุนแรงนอกจากจะเกิดกับร่างกายและจิตใจแล้ว ส่วนหนึ่งยัง ฝังแน่นในอารมณ์และความรู้สึกของผู้ถูกกระทำต่อเนื่องไปอีกยาวนาน บางคนมีความหวาดกลัวทั้งผู้คนและสถานที่ บางคนรู้สึกทุกข์ทรมานและเจ็บปวด บางคนสูญเสียความมั่นใจในตัวเองและไม่ไว้วางใจ ผู้อื่น และบางคนคิดว่าสิ่งที่ถูกกระทำเป็นตราบาปที่ติดตัวไปชั่วชีวิต
        ที่สำคัญที่สุดคือปัญหาการ กระทำรุนแรงระหว่างกันมิได้ยุติลงแต่ เฉพาะบุคคลที่กระทำและ ผู้ถูกกระทำเท่านั้น ปัญหาส่วนใหญ่ลุกลามขยายผลไปถึงชุมชนรอบข้างและสังคม กลายเป็นปัญหาที่ทับถมและทวีความรุนแรงมากขึ้นจนเป็นภาระที่คนในสังคมต้อง เผชิญและร่วมกันรับผิดชอบในที่สุด


 ความรุนแรงในครอบครัว
การปรากฎเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์  " ฆ่าเมียพ้นคุก สั่งรอลงอาญา ชี้  ดร.พิพัฒน์  ทำเพราะโทสะ  (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับที่  278  วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2545)  และ  ดร.ฆ่าเมีย ให้รอลงอาญา 3 ปี  สอนเด็กอีก 50 ชม."  (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับที่ 16251  วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2545) สร้างความแปลกใจให้กับผู้อ่านและผู้ที่ติดตามข่าวนี้มากที่ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า  เรื่องทะเลาะวิวาทระหว่างสามีภรรยามีสาเหตุมาจากความรู้สึกส่วนตัวของจำเลยเอง   กระทำความผิดเพราะอารมณ์โทสะที่เกิดขึ้นชั่วขณะทำร้ายภรรยาบาดเจ็บตามร่างกายหลายแห่งจนเสียชีวิต  อย่างไรก็ตาม  คงจะต้องติดตามผลจากการตัดสินของศาลต่อไป
               กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นได้ในทุกสังคม Murray A. Straus (1977) ได้ศึกษาต่างวัฒนธรรมเรื่องการทะเลาะวิวาทระหว่างสามีภรรยา  พบสาเหตุที่เป็นปัจจัยรุนแรงนำไปสู่การทะเลาะวิวาท  4  ประการ  คือ
               1.  การบ่มเพาะความอึดอัดไม่พอใจระหว่างสามีภรรยาเป็นเวลานาน
               2.  กิจกรรมของครอบครัว และความสนใจของสามีภรรยาที่แตกต่างกัน  กล่าวคือ  เวลาของสามีและ
                    ภรรยาจะไม่ตรงกันในการกระทำกิจกรรมของครอบครัว
               3.  เวลาของสามีและภรรยามุ่งไปสู่การทำงานเฉพาะกิจของตนเองขาดความเอาใจใส่ต่อกัน
               4.  ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ  โดยเฉพาะความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่สามีจะแสดงบทบาทผู้มีอำนาจเหนือต้องการให้ภรรยาสมยอมในทุกเรื่อง  และทำให้ภรรยาต้องอยู่ในภาวะพึ่งพาสามี  โดยเห็นว่าการหย่าร้างจะนำผลร้ายมาสู่ลูกๆ

               แนวคิดความสัมพันธ์ของครอบครัวเรื่องอำนาจและการแบ่งช่วงชั้นทางอำนาจ  แสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจของผู้ที่มีสถานภาพที่เหนือกว่าสามารถทำการควบคุม และสร้างอิทธิพลภายใต้ระบบความความสัมพันธ์ในครอบครัว   เมื่อนำหลักแนวคิดระบบอาวุโสมาพิจารณาถึงความสัมพันธ์ในระหว่างบทบาทหญิงและ ชาย จะพบว่าสถาบันต่างๆ ทางเศรษฐกิจ   สังคม   การเมือง  และศาสนา   ได้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวว่าระบบอาวุโส  ทำให้ผู้ชายมีบทบาทที่เหนือกว่าผู้หญิงระหว่างช่วงชีวิตสมรสในทุกด้าน   สิ่งเหล่านี้ปรากฎให้เห็นต่อสังคมว่าผู้ชายสามารถมีอำนาจเหนือกว่าทางด้าน อาชีพการงาน   ด้านการเมือง และศาสนา  ผู้หญิงเป็นเพศที่แสดงถึงผู้มีอำนาจที่น้อยกว่า  ได้รับผลประโยชน์ต่างๆ ที่น้อยกว่า  มีโลกของตนเองภายในบ้านและการเลี้ยงลูก
              การนำผลทางลบด้านชีวิตครอบครัวมาทำการศึกษา จะทำให้สังคมมีความเข้าใจภาวะ วิกฤตที่เป็นปัญหาของครอบครัวสามารถที่จะทำการป้องกันแก้ไขเพื่อให้ครอบครัว มีความสันติสุข
               ผลทางลบด้านชีวิตครอบครัว  คือ  ความรุนแรงในครอบครัว (Violence in the Family)   สามารถจำแนกเป็น  2  ประเภท  คือ
               1.  การทำร้าย  ทุบเฆี่ยนตีภรรยา  (Wife Battering)
               2.  การกระทำทารุณต่อเด็ก  (Child Abuse)

การทำร้าย ทุบเฆี่ยนตีภรรยา   (Wife Battering)
               การทำร้าย  ทุบเฆี่ยนตีภรรยา  เกิดขึ้นได้ทุกชนชั้นในสังคม (Lenore E. Walker) สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสมาชิกครอบครัว (Steinmetz, 1977)  ทำให้เกิดข้อขัดแย้งและการพิพาทในครอบครัว  ถ้าปล่อยทิ้งให้เป็นความขัดแย้งที่เรื้อรังไม่ได้ขจัดแก้ไข    ผลสุดท้ายจะเกิดภาวะที่ไม่สามารถควบคุมได้     นักวิชาการหลายท่านแสดงความคิดเห็นว่า ความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากการใช้อำนาจอาวุโสระหว่างเพศ  เช่น  Goode (1971)  และ O'Brien  (1971)    ได้เสนอว่า   สามีที่ไม่ประสบความสำเร็จทางสังคมในหน้าที่การงาน   มักจะแสดงความวิตกกังวลหงุดหงิดไปสู่ภรรยา   Goode (1971)    ได้สรุปว่า   ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นเมื่อสามีไม่สามารถมีสถานภาพทางสังคม  ประสบความล้มเหลวต่อการมีอำนาจนอกบ้าน  ไม่สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อนำมาสนับสนุนการมีอำนาจในบ้าน  ประเด็นเหล่านี้ ต้องทำการศึกษาต่อไปอีก  โดยจะต้องนำปัจจัยอื่นมาทำการศึกษา  เช่น  กระบวนการขัดเกลาทางสังคม  ปัจจัยทางจิตวิทยา  ปัจจัยความกดดันทางสังคม  เช่น  ปัญหาการว่างงาน  ปัญหาด้านการเงิน  และปัญหาด้านสุขภาพ

การกระทำทารุณต่อเด็ก  (Child Abuse)
             
การกระทำทารุณต่อเด็ก  เกิดขึ้นได้หลายสถานการณ์ตั้งแต่เรื่องความขัดสนด้อยโอกาส  ขาดแคลนความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต  ด้านอาหาร  เสื้อผ้า  ที่อยู่อาศัย  ไปจนถึงเรื่องการขาดความรัก  ความอบอุ่นในครอบครัว  การกระทำทารุณทางร่างกาย  ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว  นำไปเร่ขาย  ทอดทิ้งให้อดอยากหิวโหย  ต้องเร่ร่อนและการฆาตกรรมเด็กตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์  การฆ่าทิ้งถ้าพบเป็นเพศหญิง  และการทำแท้งจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  บางประเทศที่อยู่ระหว่างการทำสงครามจะให้เด็กจับอาวุธ ทำหน้าที่เป็นทหาร  และเด็กต้องตกเป็นเหยื่อจากการสู้รบตั้งแต่อายุระหว่าง  7 - 8  ขวบ    การกระทำทารุณต่อเด็กที่นักวิชาการหลายท่านได้สรุปสาเหตุ   เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  สังคมเกิดภาวะไร้ระเบียบวินัย  รวมทั้งการเกิดสภาพความเป็นเมือง  (Urbanization)  ทำให้สังคมละทิ้งคุณค่าทางวัฒนธรรม  และการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวล้มเหลว  ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำทารุณต่อเด็กยิ่งขึ้น






ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
1. ความหมาย
             ความ รุนแรงหมายถึง การกระทำใด ๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทั้งทางกาย วาจา จิตใจ และทางเพศ โดยการบังคับ ขู่เข็ญ ทำร้ายทุบตี คุกคาม จำกัด กีดกันเสรีภาพ ทั้งในที่สาธารณะ และในการดำเนินชีวิตส่วนตัวซึ่งเป็นผลหรืออาจจะเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่ผู้ถูกกระทำ
             องค์การสหประชาชาติ ได้ให้ความหมายของ ความรุนแรง ต่อสตรีในปฏิญญาสากลว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี หมายถึง
              “ การกระทำใด ๆ ที่เป็นความรุนแรงที่เกิดจากอคติทางเพศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้งการขู่เข็ญ คุกคาม กีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและในชีวิตส่วนตัว นอกจากนี้ยังให้ รวมถึงความรุนแรงต่อไปนี้
             1. ความรุนแรงต่อร่างกาย ทางเพศและจิตใจที่เกิดขึ้นใน ครอบครัว รวมทั้งการทุบตี การทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กและสตรี ในบ้าน ความรุนแรงอันมีเหตุมาจากของหมั้นที่ฝ่ายหญิงให้กับ ครอบครัวสามี การข่มขืนโดยคู่สมรส การขลิบอวัยวะเพศสตรี และ ข้อปฏิบัติตามประเพณีต่างๆ อันเป็นอันตรายต่อสตรี ความรุนแรงที่ ไม่ได้เกิดจากคู่สมรส และความรุนแรงที่เป็นการหาประโยชน์จากสตรี
             2. ความรุนแรงต่อร่างกาย เพศ และจิตใจที่เกิดขึ้นภายใน ชุมชนทั่วไป รวมถึงการข่มขืน การทารุณกรรมทางเพศ การลวนลามทางเพศ การข่มขู่ในสถานที่ทำงาน ในสถาบันการศึกษาและสถานที่ต่าง ๆ การค้าหญิงและการบังคับค้าประเวณี
             3. ความเพิกเฉยของรัฐต่อความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นความ รุนแรงที่เกิดทางร่างกาย ทางเพศ และจิตใจ
                 สำหรับความรุนแรงต่อเด็ก หรือ การกระทำทารุณต่อเด็ก หมายถึง การที่เด็กได้รับการปฏิบัติจากผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นใน หรือ นอกครอบครัว ในลักษณะที่ไม่เป็นที่ยอมรับตามบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เด็กอยู่ใน ช่วงเวลานั้น จนเป็นเหตุให้เด็กได้รับอันตราย บาดเจ็บ กระทบกระเทือน ทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางเพศ ตลอดจนการถูกละเลยไม่สนองตอบความต้องการพื้นฐาน เช่น อาหาร การดูแลสุขภาพ และการอบรมเลี้ยงดู ทั้งนี้ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ของสหประชาชาติ ได้ระบุไว้ว่า เด็ก คือ ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และได้กล่าวถึงความรุนแรงต่อเด็ก ดังนี้
                “ รัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้ง ปวง ด้านนิติบัญญัติ บริหารสังคม และการศึกษา ในอันที่จะคุ้มครองเด็กจากรูปแบบทั้งปวง ของความรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การทำร้ายหรือ การกระทำ อันมิชอบ การทอดทิ้งหรือการปฏิบัติโดยประมาท การปฏิบัติที่ผิดหรือการแสวงประโยชน์ รวมถึงการกระทำที่มิชอบทางเพศ ขณะอยู่ในความดูแล ของบิดามารดา ผู้ปกครองตามกฎหมายหรือบุคคลอื่นใด ซึ่งเด็กนั้นอยู่ในความดูแล

2. สภาพปัญหาความรุนแรงในปัจจุบัน
    2.1 สภาพปัญหา
           สภาพความรุนแรงทั่วไป
          1) สภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการเลิกจ้างงาน ค่าครองชีพสูง รายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้เกิดความเครียดทั้งในครอบครัวและสังคม เป็นผลให้เกิดการใช้ความรุนแรงและมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น
          2) สภาพแวดล้อมในสังคมปัจจุบันมีแหล่งอบายมุข การใช้สาร เสพติด ธุรกิจบริการทางเพศ แรงงานเด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กถูกทอดทิ้ง สื่อลามกอนาจารและสื่อความรุนแรงต่าง ๆ มีอยู่ทั่วไป
         3) ปัญหาอาชญากรรม การปล้น จี้ ฆ่า ข่มขืน รวมทั้งการทำร้ายทารุณทางร่างกายและทางเพศมีมากขึ้น โดยผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและสตรี ซึ่งนับวันจะมีอายุน้อยลงและผู้กระทำส่วนใหญ่จะเป็นคนที่อยู่ในครอบครัวหรือ เป็นคนที่รู้จักกับผู้ถูกกระทำ
        4) ความเชื่อ วัฒนธรรม และค่านิยมทางสังคม ที่ให้อำนาจและสิทธิชายเหนือหญิง หรือให้ผู้ชายเป็นใหญ่ในสังคม ผู้ใหญ่เหนือเด็กจะทำร้ายทุบตี บังคับขู่เข็ญหรือทำอะไรกับผู้หญิงและเด็กก็ได้
       5) เมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะใช้สิทธิทางกฎหมายในการ ป้องกันตนเองเนื่องจาก
            5.1 กระบวนการในการสอบสวนในชั้นตำรวจ อัยการและการสืบพยานในชั้นศาลไม่เอื้อให้ผู้ถูกกระทำต้องการดำเนินคดีเพราะ รู้สึกเหมือนถูกกระทำซ้ำอีกครั้ง และในบางกรณีผู้กระทำไม่ได้รับโทษ ทำให้เกิดความย่ามใจ มีการกระทำซ้ำอีกและจะทวีความรุนแรงขึ้น
           5.2 ยังไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทั้ง ภาครัฐและองค์กรเอกชนเข้าแทรกแซง และช่วยเหลือได้เมื่อเกิดปัญหา รวมทั้งกฎหมายยังไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา
           5.3 ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบต่อปัญหาโดยตรง แต่เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงานเล็ก ๆ หลายหน่วยงาน กระจัดกระจาย และไม่มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบ
           5.4 ผู้เสียหายไม่ต้องการดำเนินการทางกฎหมาย เนื่องจากกลัวตกเป็นข่าวในสื่อมวลชนต่าง ๆ
       6) เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมขาดความเข้าใจถึง สภาพปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี จึงมุ่งเน้นประสิทธิผลทางกฎหมายและการแสวงหาพยานหลักฐานทางคดี มากกว่าสภาพจิตใจของผู้เสียหายที่เป็นเด็กและสตรี
      7) ช่วงเวลาระหว่างของการดำเนินคดีมักมีระยะเวลายาว นาน ทำให้ผู้หญิงที่เป็นโจทก์ ต้องตกอยู่ในภาวะเครียด และรู้สึกอายที่ต้องตกเป็นเป้าสายตาของคนในที่ทำงาน ชุมชน สังคม
      8) ในคดีที่จำเลยผู้กระทำความรุนแรงเป็นผู้มีตำแหน่ง อิทธิพล มักจะอาศัยอำนาจหน้าที่ หรือพรรคพวกของตนบิดเบือนคดี หรือข่มขู่ โจทก์และผู้ที่ช่วยเหลือโจทก์ เพื่อให้ประนีประนอมยอมความ หรือไม่ให้เปิดเผยเรื่องต่อสาธารณชน รวมทั้งอาจทำให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการ ยุติธรรมไม่เป็นกลาง
     9) ผู้หญิงที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐบางแห่ง เช่น สถานสงเคราะห์ ทัณฑสถาน สถานีตำรวจ ถูกกระทำรุนแรง บังคับ ข่มขู่ ละเมิดสิทธิ จากเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแล หรือจากบุคคลอื่นในสถานที่นั้น
    10) การถูกล่วงเกินทางเพศโดยทางวาจา และเนื้อตัวร่างกายในสถานที่ทำงาน จากเพื่อนร่วมงาน และนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา ทั้งในสถานที่ราชการ และเอกชน ตลอดจนสถานที่สาธารณะ กฎหมายยังไร้สภาพบังคับ เนื่องจากผู้เสียหายไม่กล้าดำเนินคดีด้วย กลัวเพื่อนร่วมงานจะซุบซิบนินทา ไม่เข้าใจ กลัวผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปไม่เข้าใจ หรือเชื่อฝ่ายผู้กระทำผิดซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าผู้ถูกกระทำ รวมทั้งกลัวว่าจะตกงาน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมยังมุ่งแสวงหา ร่องรอยพยานหลักฐาน มากกว่าคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย ซึ่งคดีดังกล่าวมักปราศจากร่องรอย พยานหลักฐานตามเนื้อตัวร่างกาย
     11) ศูนย์ข้อมูลและวิชาการ มูลนิธิเพื่อนหญิง ได้รวบรวมสถิติข้อมูลภัยทางเพศจาก หนังสือพิมพ์ 5 ฉบับ ได้แก่ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด และกรุงเทพธุรกิจ ปี 2541 ช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม มี
ภัยทางเพศเกิดขึ้นทั่วประเทศ 142 กรณี มีผู้ตกเป็นเหยื่อ 180 คน เมื่อเทียบกับ ปี 2540 ในช่วงเวลาเดียวกัน เฉพาะภัยข่มขืนมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 67.6
     12) จากการทำงานของศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี มูลนิธิเพื่อนหญิง ในช่วงเดือน มกราคม - ธันวาคม 2540 มีผู้มาขอความช่วยเหลือ 1,057 ราย และ ปี 2541 จำนวน 1,000 ราย ประมาณร้อยละ 80 คือปัญหาความรุนแรงในครอบครัว รองลงมาคือ ความรุนแรงทางเพศ
     13) จากการทำงานของฝ่ายบริการสังคม มูลนิธิผู้หญิง ในช่วงเดือนมกราคม - ธันวาคม 2541 พบว่า สภาพปัญหาของผู้เดือดร้อนอันดับหนึ่งคือ ความรุนแรงทางเพศ 139 ราย รองลงมาคือ ความรุนแรงในครอบครัว 83 รายและการค้าหญิง จำนวน 41 ราย
      14) จากสถิติผู้โทรศัพท์ปรึกษาปัญหากับมูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์ เดือนมกราคม - กันยายน 2542 มีผู้ปรึกษาปัญหา ความรุนแรงในครอบครัว 480 ราย ปัญหาถูกข่มขืน 383 ราย
      15) ศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศ สำนักงานแผนงานและงบประมาณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปี 2541 มีสถิติเกี่ยวกับคดีความผิดทางเพศทุกเขตพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ดังนี้
            15.1 คดีข่มขืนกระทำชำเรา รับแจ้ง 3,516 ราย จับได้ 2,174 ราย
            15.2 คดีข่มขืนและฆ่า รับแจ้ง 24 ราย จับได้ 14 ราย
            15.3 คดีอนาจาร รับแจ้ง 1,459 ราย จับได้ 1,016 ราย
      16) ข้อมูลกรณีเด็กที่ถูกทำร้ายทารุณ ในช่วงปีงบประมาณ 2541 ซึ่งกองคุ้มครอสวัสดิภาพเด็ก กรมประชาสงเคราะห์ ได้ให้ความช่วยเหลือ พบว่า ใน กทม. มีจำนวน 52 ราย ต่างจังหวัดมี 108 ราย เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 1 เท่า มีทั้งกรณีทำร้ายทางกาย ทางเพศ และถูกปล่อยปละละเลย โดยมีกรณี ทำร้ายทางเพศสูงที่สุด ผู้กระทำทารุณส่วนใหญ่คือ คนรู้จัก ได้แก่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เพื่อนบ้าน รวมทั้ง ครู
      17) สถิติการช่วยเหลือเด็ก ของมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ในช่วงเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2541 พบว่า เด็กถูกล่วงเกินทางเพศมีมากเป็นอันดับหนึ่ง 88 ราย รองลงมาคือ การทำร้ายทารุณ 33 ราย โสเภณีเด็ก 7 ราย แรงงานเด็ก 4 ราย เด็กสูญหายหรือถูกลักพา 5 ราย และอื่น ๆ เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกทอดทิ้ง 28 ราย รวมทั้งสิ้น 164 ราย และดำเนินการช่วยเหลือไว้ได้ 153 ราย
      18) จากรายงานประจำปี 2542 ของศาลเยาวชนและครอบครัว สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม มีสถิติคดีเด็กและเยาวชน และคดีครอบครัวในรอบปี 2542 ดังนี้
             18.1 คดีที่เด็กและเยาวชนกระทำผิดสูงสุดอันดับ 1 จาก 10 อันดับ ปี พ.ศ. 2542 คือ คดียาเสพติด 18,781 ราย จากทั้งหมด 37,388 ราย คิดเป็น 50.23 %
              18.2 จำนวนเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด ปี 2542 พบว่าทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีน(ยาบ้า)มากที่สุดถึง 17,961 ราย จากทั้งหมด 21,099 ราย คิดเป็น 85.13% ของเด็กที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
              18.3 เด็กและเยาวชนที่ถูกจับกุมมายังสถานพินิจฯ ปี 2537 – 2542 จำแนกตามสาเหตุแห่งการกระทำผิด อันดับหนึ่ง คือ คบเพื่อน 15,399 ราย รองลงมาคือ สภาพครอบครัว 11,561 ราย
              18.4 สถิติเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ จำแนกตามฐานความผิด ปี พ.ศ. 2541 ดังนี้
                      - ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จำนวน 8,325 ราย
                      - ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย จำนวน 2,304 ราย
                      - ความผิดเกี่ยวกับเพศ จำนวน 1,004 ราย
                      - ความผิดอื่นๆ จำนวน 25,755 ราย
         ความรุนแรงในครอบครัว
         1) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวจากครอบครัว ขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมีมาก ขึ้น ดังนั้นการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ต้องเผชิญด้วยตนเอง ไม่มีผู้เข้ามาไกล่เกลี่ยปัญหา ขาดการควบคุมอารมณ์และทักษะในการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ส่งผลให้เกิดความ รุนแรงในครอบครัวและการหย่าร้าง ซึ่งในปี 2540 ตามข้อมูลของกรมการปกครอง มีการจดทะเบียนหย่า 62,379 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2530 ซึ่งมีจำนวน 31,068 ราย ถึง 1 เท่า
         2) ปัญหาความไม่รับผิดชอบต่อครอบครัวของสามี เช่น ชอบดื่มสุรา สิ่งเสพติดต่างๆ การเที่ยวเตร่ การเล่นการพนันจนไม่มีเงินทองเหลือใช้จ่ายในครอบครัว
         3) ในสภาพสังคมปัจจุบันหลายครอบครัวเผชิญกับความ เครียดจากงาน ปัญหาการเงิน ปัญหาระหว่างสามีภรรยา หรือพ่อแม่อยู่ในระหว่างอาการมึนเมา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ใช้ความรุนแรงหรือทำร้ายทารุณกับลูก
         4) สังคมปัจจุบันกลายเป็นสังคม บริโภคนิยม” “วัตถุนิยมสร้าง ความเห่อเหิม และทำให้วิธีคิดของคนเปลี่ยนไป เช่น พ่อแม่ รุ่นก่อนๆ จะเห็นคุณค่าของลูก แต่ปัจจุบันพ่อแม่ได้ตีค่าลูกเป็นราคา เห็นลูกเป็นสมบัติชิ้นหนึ่งที่จะบังคับหรือจะทำอย่างไรกับลูกก็ได้
          5) ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่นำมาใช้เพื่อพัฒนา ประเทศ ทำให้มีการย้ายถิ่นเพื่อหางานทำ เป็นผลให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่แน่นแฟ้น เด็กและผู้สูงอายุไม่มีผู้ดูแล และในภาวะที่มีการเลิกจ้างงาน ผู้ตกงานต้องย้ายถิ่นกลับจะเกิดปัญหาในการปรับตัวเข้ากับครอบครัว
          6) ความเชื่อที่ผิดๆ ว่าเรื่องครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว ทำให้ ผู้หญิงที่ประสบปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะปกปิด หรืออาจจะอาย หรือคิดว่าคนอื่นไม่สามารถช่วยได้ ทำให้ปัญหายิ่งลุกลามรุนแรงขึ้น และด้วย
ความเชื่อเช่นนี้ ทำให้คนรอบด้านไม่ต้องการเข้าไปเกี่ยวข้องหรือ ช่วยเหลือ
          7) ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากผู้ชายทำให้ขาดอำนาจในการต่อรอง ต้องอยู่ในสภาพที่ยอมจำนน
          8) สภาพความรุนแรงในครอบครัวอีกรูปแบบหนึ่งคือ การที่ ผู้หญิงในครอบครัวถูกข่มขืนโดยสามีของตนเอง พ่อข่มขืนลูก และรวมทั้งญาติพี่น้องผู้ชายอื่น ๆ ข่มขืนญาติผู้หญิงในครอบครัว ซึ่งปรากฏตามสื่อมวลชนมากขึ้น
          9) กฎหมายบางเรื่องยังเปิดช่องว่างให้มีการกระทำรุนแรง เช่น กฎหมายอาญา มาตรา 276 ใช้ถ้อยคำว่า ผู้ใดข่มขืนหญิงซึ่งมิใช่ภริยาของตนมีผลให้สามีข่มขืนภรรยาได้โดยไม่มีความผิด
         ความรุนแรงในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
         1) ครูอาจารย์ยังไม่มีความรู้และไม่เข้าใจเรื่อง สิทธิเด็ก และสิทธิมนุษยชน ทำให้มีการลงโทษที่ไม่เหมาะสม บางครั้งใช้ความรุนแรงกับเด็กโดยไม่สืบหาสาเหตุที่แท้จริงของเด็ก
         2) ยังมีครูอาจารย์ที่กระทำล่วงเกินทางเพศและทำร้ายทารุณทางจิตใจกับเด็กเป็นจำนวนมาก
         3) ค่านิยมของเด็กเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาของตนเอง รวมทั้งประเพณีการต้อนรับน้อง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรุนแรง
         4) ปัญหาความเครียดความกดดันต่าง ๆ ที่ทั้งครูและพ่อแม่ ให้กับเด็ก เช่น การบังคับให้เรียนพิเศษตอนเย็น การไม่ให้เข้าร่วม กิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย เป็นต้น
         5) ครูยังขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งครูยังใช้ความรุนแรงต่อกันเองให้เด็กได้เห็น
         6) การลงโทษครูที่กระทำรุนแรงต่อเด็ก ยังไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การลงโทษโดยการโยกย้ายครูไปอยู่ที่โรงเรียนอื่น ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
        7) ผู้บริหารโรงเรียนบางแห่งปกป้องครู หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ที่กระทำผิด และไม่ต้องการให้ชุมชนหรือสังคมได้รู้ปัญหา เนื่องจากเกรงว่าจะเสียชื่อโรงเรียน
        ความรุนแรงในสังคม
        1) ไม่มีความปลอดภัยในการเดินทางไปทำงานหรือในที่ อื่นๆ มีการข่มขืน อนาจาร การทำร้ายร่างกายและทางเพศมากขึ้น ทั้งในที่สาธารณะ ห้างสรรพสินค้า บนรถโดยสารประจำทาง สถานประกอบการ สถานที่ราชการ โรงเรียน และแม้แต่ในวัด หรือทัณฑสถาน ซึ่งควรจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย
       2) ผู้หญิงจำนวนมากถูกลวนลามทางเพศ ทั้งทางกาย และทางวาจา ในสถานที่ทำงาน สถานประกอบการ โรงงาน สถานที่สาธารณะ
รวมทั้งผู้หญิงที่ทำงานบ้าน และมักไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อมีการฟ้องร้อง
      3) ปัญหาอาชญากรรม การล่อลวง ฆ่า การมอมเมาเด็กและเยาวชนด้วยสารเสพติด และแหล่งอบายมุขต่าง ๆ
     4) สภาพแวดล้อมด้านอิทธิพลจากสื่อมวลชนที่ได้เสนอ ข้อมูลข่าวสารให้เกิดผลลบแก่ ผู้รับสารอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เช่น ค่านิยมฟุ้งเฟ้อ การใช้ความรุนแรง การผลิตสื่อโฆษณา สื่อลามกอนาจาร ที่ก่อให้เกิดการเลียนแบบในทางที่ไม่ถูกต้อง
     5) มีการใช้วัตถุระเบิดรวมทั้งการขู่วางระเบิดตามสถาน ที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า และในที่ต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตของประชาชนและสังคมโดยรวม
     6) มีการเอารัดเอาเปรียบ และแสวงประโยชน์จากเด็ก ทั้งด้านแรงงาน การค้าสารเสพติด และธุรกิจบริการทางเพศ
     7) มีการเผยแพร่ภาพลามกทางสื่อต่าง ๆ ทั้งสิ่งพิมพ์ วิดีโอ อินเตอร์เน็ต และสื่ออื่น ๆ โดยเฉพาะทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งถูกใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร เพื่อล่อลวงเหยื่อนำไปสู่การกระทำรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้สื่อโฆษณาหาเพื่อนคุยทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต โดยที่เด็กขาดความรู้ ความเข้าใจ และรัฐ ขาดการควบคุมดูแล

  2.2 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรง
       ค่านิยม เจตคติ
       1) สังคมยังมีค่านิยมและเจตคติที่ไม่เหมาะสม เกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงกับชาย เช่น แนวคิดที่ว่าภรรยาเป็นสมบัติของสามี ลูกเป็นสมบัติของพ่อแม่ ผู้ชายมีอำนาจเหนือผู้หญิง ผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ
        2) เจตคติของสังคม ในเรื่องบทบาทหญิงชาย ให้ความสำคัญและคาดหวังเพศชายในฐานะผู้นำ ผู้ตัดสินใจ ผู้สืบทอดเชื้อสายทางครอบครัว เพราะเพศชายมีร่างกายที่แข็งแรงกว่าสามารถปกป้องผู้ อ่อนแอทางร่างกาย คือผู้หญิงและเด็กได้
        3) เจตคติทางสังคมที่มีแนวโน้มจะประณามผู้หญิงและ เด็กว่าเป็นผู้สร้างเงื่อนไข ให้เกิดความรุนแรง มากกว่าจะเข้าใจถึงสิทธิสตรี สิทธิเด็ก และเรียนรู้ที่จะแสดงความเคารพในสิทธิสตรีและสิทธิเด็กอย่างจริงจัง
       4) ความเชื่อที่ผิด ๆ เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรง เช่น ความ รุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว ความรุนแรงทางเพศเกิดขึ้นเพราะ ผู้หญิงเป็นฝ่ายผิด หรือสมยอมเอง ทำให้ผู้ประสบปัญหาพยายามปิดไว้เป็นความลับ และด้วยความเชื่อดังกล่าวทำให้คนในสังคมไม่ต้องการ เข้าไปยุ่งเกี่ยวและให้ความช่วยเหลือ ทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
     ครอบครัว
     1) ความไม่พร้อมที่จะมีครอบครัวตั้งแต่ร่างกาย จิตใจ อายุ สุขภาพอนามัย และฐานะทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดความรุนแรง
     2) พฤติกรรมของคู่สมรสได้ก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว เช่น การนอกใจคู่สมรส
การดื่มสุรา การติดการพนัน การไม่ช่วยแบ่งเบาภาระในครอบครัว เช่น ด้านเศรษฐกิจ งานบ้าน การดูแลลูก เป็นต้น
     3) การขาดการให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดี หน้าที่ของพ่อแม่ การเลี้ยงดู ให้ความอบอุ่นแก่ลูก
    4) การอบรมเลี้ยงดูลูกชายหญิงไม่เท่าเทียมกัน ขณะที่ลูกผู้หญิงได้รับการอบรมให้เป็นกุลสตรีว่านอนสอนง่าย จะต้องพึ่งพิงผู้ชาย เชื่อฟัง เป็นผู้ตาม เก่งงานบ้านงานเรือน ไม่เป็นอิสระในการไปไหนมาไหน ในขณะที่อบรมลูกผู้ชายให้เข้มแข็ง มีความเป็นลูกผู้ชาย มีอิสระ มีเจตคติเรื่องเพศที่สามารถแสดงออกได้เต็มที่ รวมทั้งการอบรมเลี้ยงดูที่ขาด ศีลธรรม จริยธรรม ขาดการศึกษาที่ทำให้ไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตน
    5) การขาดความรู้ในเรื่องการวางแผนครอบครัว ขาดทักษะชีวิต ทักษะในการสื่อสารที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่ไม่ใช่เอาชนะกันด้วย เหตุผลอย่างเดียว ได้แก่ การแสดงความรู้สึกนึกคิดของตน การถามและ รับฟังความเห็นผู้อื่น การยอมรับชื่นชมอีกฝ่ายหนึ่ง รวมถึงความไม่เข้าใจกันภายในครอบครัวระหว่างสามีภรรยา เช่น ความหึงหวง การไม่ปรับตัวเข้าหากันระหว่างบทบาทหญิงชาย เป็นต้น
    6) ปัญหาทางเศรษฐกิจ เช่น ยากจน การไม่มีอาชีพการงานที่แน่นอนและการว่างงาน
    7) การขาดความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ ปัญหาทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
    สภาวะเศรษฐกิจ
    1) ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ การเลิกจ้างงาน ธุรกิจล้มละลาย ค่าครองชีพสูง ทำให้เกิดความเครียด เป็นสาเหตุที่ช่วยให้เกิดความรุนแรงทุกรูปแบบทั้งในครอบครัวและสังคม
     2) ลักษณะนิสัยการใช้จ่ายเกินตัว บริโภคนิยม วัตถุนิยม ทำให้มีการกู้หนี้ และก่อให้เกิดความเครียด
     สื่อ
     1) ภาพลามกอนาจารต่าง ๆ ที่เผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ เช่น วิดีโอ หนังสือ ภาพยนตร์ รูปภาพ แผ่นดิสต์ รวมทั้งการเสพย์ของมึนเมาและการเที่ยวในสถานเริงรมย์ต่าง ๆ มีส่วนยั่วยุให้เกิดความรู้สึกทางเพศ
     2) สื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารในทางลบและเพิ่มความรุนแรงให้แก่ผู้รับสารมากยิ่งขึ้น
     3) สื่อขาดแนวคิดพื้นฐานและวิธีการนำเสนอทักษะในการ สื่อสารที่ดีที่จะพัฒนาและ ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหญิงชาย ได้แก่ ทักษะการสื่อสารระหว่างคู่สมรส พ่อแม่ลูก รวมถึงการสอนทักษะการ สื่อสาร ซึ่งรวมอยู่ในทักษะชีวิต
    4) สื่อทางอินเตอร์เน็ต มีภาพลามก และข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งการสนทนาที่อาจชักจูงไปในทางที่ไม่เหมาะสม หรือก่อให้เกิดความรุนแรง
     การศึกษา
     1) ระบบการศึกษายังไม่ให้ความสำคัญในการบรรจุหลักสูตร การเรียนการสอนเรื่อง จริยธรรมทางเพศ การเป็นพ่อแม่ที่ดี สิทธิสตรี สิทธิเด็กและสิทธิมนุษยชน
     2) การให้ความรู้เรื่องเพศศึกษายังไม่เป็นที่ยอมรับ อย่างจริงจัง เนื่องจากเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ปกปิดมีผลทำให้วัยรุ่นเกิดความอยากรู้อยาก เห็น อยากลอง เมื่อมีอารมย์ทางเพศเกิดขึ้น จึงไม่รู้ว่าจะจัดการกับตนเองอย่างไร จึงหาทางออกผิดๆ เช่น การข่มขืน ลวนลามทางเพศ
    3) การศึกษาของไทยยังไม่สามารถสอนให้เด็กแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งด้วย เหตุผลและสันติวิธี ซึ่งหมายรวมถึงทักษะในการ สื่อสารที่ดี รวมทั้งไม่สอนให้เด็กรู้จักการควบคุมตนเอง และฝึกความ มีเมตตาต่อผู้อื่น รวมทั้งขจัดความรู้สึกถือตัวถือตน ซึ่งเป็นสาเหตุของความโกรธ และนำมาซึ่งการใช้ความรุนแรง
    อื่น ๆ
     1) ปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาได้ ทำให้กลาย เป็นความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวทุกคน ทั้งทาง ร่างกาย สุขภาพจิต โดยเฉพาะแม่บ้านและเด็ก ซึ่งกลายเป็นเหยื่อทาง เพศโดยไม่มีทางเลือก
     2) ปัญหาความรุนแรงและการทอดทิ้ง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และ ผู้ด้อยโอกาสทั้งในครอบครัวและสังคม มีมากขึ้น

  2.3 ผลกระทบของความรุนแรง
         ผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ
       1) เด็กที่ถูกกระทำทารุณกรรมจะมีปัญหาสุขภาพจิตตาม มา ซึ่งอาจทำให้เป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตไม่เหมาะสมกับวัย กลายเป็นผู้พิการ ขาดสารอาหาร และกลายเป็นปัญหาภาระของสังคมต่อไป
      2) ประสบการณ์ของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจะส่ง ผลกระทบต่อสุขภาพจิต มีอาการหวาดผวา ไม่ไว้วางใจใคร ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เสียสุขภาพจิต มีพัฒนาการทางร่างกายช้า มีปัญหาทางการเรียนตามมา
      3) เด็กที่เคยถูกทำร้ายหรือตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจะ มีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นอันธพาลหากไม่ได้รับการบำบัดเยียวยาอย่างถูกวิธี เมื่อ โตขึ้นจะกลายเป็นอาชญากร หรือเป็นผู้ใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นต่อไป
     4) เด็กที่ถูกล่วงเกินทางเพศบางรายจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ และพยายามที่จะทำกับคนอื่นอย่างที่ตนถูกกระทำ
     5) เด็กที่เคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่รุนแรง หรือเคยพบเห็น เหตุการณ์รุนแรง จะเกิดการเรียนรู้ต้นแบบการแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง และเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ
    6) ผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงทางด้านร่างกายและทางเพศจะ ได้รับบาดเจ็บ บางรายพิการหรือถึงแก่ชีวิต และผู้หญิงที่ถูกล่วงเกินทางเพศ อาจตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ นำไปสู่ปัญหาการทำแท้ง หรือมีบุตรโดยไม่พร้อม กลายเป็นปัญหาสังคม ติดเอดส์หรือเป็นโรคจากการ มีเพศสัมพันธ์
   7) ผู้หญิงที่ถูกกระทำทารุณกรรมจะมีผลกระทบทางด้านจิตใจ คือ สูญเสียความมั่นใจ อับอาย กลัวสังคมไม่ยอมรับ มีความกดดัน เครียด หวาดผวา คิดว่าตนเองเป็นฝ่ายผิด ลงโทษตนเองและที่สำคัญคิดว่าตนเองได้สูญเสียคุณค่าความเป็นมนุษย์ บางรายถึงกับมีอาการทางจิต เสียสติถ้าถูกกระทำซ้ำ ๆ
    ผลกระทบต่อครอบครัว
    1) ครอบครัวไม่สามารถทำหน้าที่ครอบครัวได้ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวถูกทำลาย ครอบครัวไม่สงบสุข เกิดความห่างเหิน ขาดความรักความเข้าใจในครอบครัว กลายเป็นครอบครัวแตกร้าว
    2) การหย่าร้างมีมากขึ้น ส่งผลกระทบถึงสถานภาพของลูก ไม่มีคนดูแล ขาดความรักความอบอุ่น กลายเป็นเด็กเก็บกด มีพฤติกรรมก้าวร้าว และหนีออกไปจากบ้านเข้ากลุ่มเพื่อนติดยาเสพติด
    ผลกระทบต่อชุมชนและสังคม
     1) สังคมไทยกลายเป็นสังคมไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะกับเด็กและสตรี
      2) การทะเลาะเบาะแว้ง การด่าทอทุบตีทำร้ายกันในครอบครัว ส่งผลให้เกิดความรำคาญกับเพื่อนบ้านและชุมชน ทำให้ขาดความสันติสุข
     3) ครอบครัวบางครอบครัวเป็นหน่วยผลิตทางเศรษฐกิจโดย ตรง ดังนั้นเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมการเมือง และสิ่งแวดล้อม
    4) ปัญหาสังคมจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสถาบันครอบครัวไม่สามารถรวมตัวเป็นพลังกลุ่มหรือชุมชนที่จะบำเพ็ญ ตนเป็นประโยชน์ ต่อสังคมได้
    5) ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นอุปสรรคในการพัฒนา ศักยภาพของสตรี พัฒนาความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ และเป็นการทำลายเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเสมอภาค และสันติสุข

 2.4 ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหา
      1) ให้มีนโยบายและแผนงานระดับชาติในเรื่อง การยุติความ รุนแรงต่อเด็กและสตรี ที่สามารถใช้เป็นแนวทางการทำงานของหน่วยงาน
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
      2) รัฐต้องมีมาตรการในการให้ความรู้แก่ประชาชนและ สังคมเกี่ยวกับเรื่องความ รุนแรงต่อเด็กและสตรี ความรุนแรงในครอบครัว สิทธิมนุษยชน สิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
     3) รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขความ รุนแรงต่อเด็กและสตรี
    4) รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทั้งหญิงและ ชาย องค์กรชุมชน มีส่วนร่วมในการแก้ไข ป้องกัน และขจัดความรุนแรงใน ทุกระดับของความสัมพันธ์ ทั้งระหว่างสามีภรรยา หญิงกับชาย พ่อแม่ กับลูก พี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน ครูอาจารย์กับนักเรียนนักศึกษา
      5) รัฐและองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต้องมีมาตรการในการ ป้องกันและควบคุมสื่อที่ส่ง เสริมความรุนแรงในทุกรูปแบบ และผู้ผลิตสื่อต้องแสดงความรับผิดชอบในการนำเสนอสื่อทุกรูปแบบรวมทั้งไม่ให้ สื่อกลายเป็นเครื่องมือวิธีการส่งเสริมความรุนแรง หรือแสดงถึงอคติที่มีต่อภาพลักษณ์โดยรวมของสตรี
     6) พัฒนารูปแบบการติดต่อสื่อสารเป็นสองทางให้มากขึ้น และแสดงออกถึงการพัฒนาในทางที่สร้างสรรค์อย่างชัดเจน
     7) ให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว และมีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเผยแแพร่กฎหมายดังกล่าวให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีบริการทางกฎหมายแก่ครอบครัวที่มีปัญหา ตลอดจนประชาชนทั่วไปต้องร่วมมือกันใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วให้เป็นเครื่องมือ ยุติความรุนแรง
     8) พัฒนาองค์กรภาครัฐที่ทำหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือ ผู้ถูกกระทำรุนแรง รวมทั้งสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ทำหน้าที่ดังกล่าว
     9) พัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้เข้าใจถึง ธรรมชาติของปัญหาความรุนแรงต่อ เด็กและสตรี รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้น และพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินคดีทางอาญา โดยคำนึงถึงสภาพจิตใจ และความต้องการของผู้เสียหาย
    10) รัฐต้องให้ความสำคัญต่อการศึกษาวิจัยสภาพปัญหา ปัจจัยกำหนดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ผลกระทบต่อผู้เสียหาย การประเมินการใช้นโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

3. วิสัยทัศน์
    3.1) เด็กและสตรีปลอดจากการถูกกระทำรุนแรงและล่วง ละเมิดสิทธิ ทางกาย วาจา จิตใจและทางเพศ ทั้งในครอบครัว ชุมชน สื่อ สถานที่ทำงาน สถานที่ราชการ โรงเรียน และสังคมส่วนรวม
     3.2) ครอบครัวและสังคมมีสันติสุขสามารถแก้ไขความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
      3.3) รัฐ ครอบครัว และสังคมมีกลไกการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ
     3.4) รัฐและประชาชนมีความรู้ ตระหนักและเข้าใจปัญหาความ รุนแรงต่อเด็กและสตรี รวมทั้งสิทธิเด็ก และสิทธิสตรี
     3.5) มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน และชุมชน ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีอย่างเป็นสหสาขาวิชาชีพ

4. วัตถุประสงค์ของแผน
     4.1) เพื่อให้มีนโยบายและกลไกทุกระดับ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เพื่อให้เด็กและสตรีได้รับการปกป้องคุ้มครองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการกระทำ รุนแรง
     4.2) เพื่อให้มีการพัฒนาศักยภาพ ความรู้และทักษะของบุคลากร และส่งเสริมให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทำงานด้านการป้องกันและแก้ไข ปัญหาความรุนแรง เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ
     4.3) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติที่เหมาะสม ตระหนักในสิทธิเด็กและสตรี
และมีทักษะในการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงการเป็นผู้กระทำความรุนแรงและเป็นผู้ถูกกระทำ
     4.4) เพื่อสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน และองค์กรท้องถิ่น มีส่วนร่วมช่วยดูแล เฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ทุกขั้นตอน
    4.5) เพื่อให้มีการสร้างเครือข่ายการประสานการดำเนิน งานในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรท้องถิ่น และประชาชน

5. นโยบายระดับชาติ
     รัฐมีนโยบายปกป้อง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โดย
      5.1) รัฐต้องให้ความสำคัญและส่งเสริมการคุ้มครอง ป้องกันเด็ก และสตรีจากความรุนแรงทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งในครอบครัวและสังคม โดยเน้นการพัฒนาคน ครอบครัว และสังคมให้มีสันติสุขและเสมอภาคระหว่างชายหญิง รวมทั้งแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการคุ้มครองในเรื่องดังกล่าว
     5.2) รัฐต้องช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง รวมทั้งสนับสนุนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดำเนินการเกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการดูแลรักษา ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ การจัดที่พักพิงชั่วคราว ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ รวมทั้งการดำเนินการทางกฎหมาย หากหน่วยงานดังกล่าวเพิกเฉย ควรมีมาตรการดำเนินการลงโทษ
      5.3) รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนใน สังคม โดยเฉพาะการมุ่งเน้นให้สตรีมีบทบาทร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง ทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ
     5.4) รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาองค์ ความรู้ บุคลากร และระบบข่าวสารข้อมูล เพื่อนำไปสู่การ ปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้างสรรค์ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง ป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง
     5.5) รัฐต้องส่งเสริมให้มีการบูรณาการด้านการประสานงาน แผนงานและงบประมาณให้สอดคล้องกันในการป้องกันและแก้ไขความรุนแรงต่อเด็กและ สตรี
     5.6) รัฐต้องสนับสนุนให้ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
     5.7) รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนเกิดความรู้ความ เข้าใจ และจิตสำนึกในเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิสตรี และสิทธิมนุษยชน และร่วมกันขจัดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

6. แผนงานหลัก
    แผนงานหลักมี 6 แผนงาน คือ
    1) แผนงานป้องกันและส่งเสริม
    2) แผนงานด้านกฎหมาย
    3) แผนงานช่วยเหลือคุ้มครองและสวัสดิการ
    4) แผนงานด้านการศึกษาและวิจัย
    5) แผนงานพัฒนากลไก การประสานงานและบูรณาการ
    6) แผนงานการติดตาม ประเมินผลและระบบฐานข้อมูล
    แผนงานต่าง ๆ มีมาตรการดังนี้

   1. แผนงานป้องกันและส่งเสริม
        ระยะสั้น
        1) รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐทุกระดับ เข้าใจและตระหนักถึงหน้าที่ความ รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของเด็กและสตรีทุกระดับ การที่เด็กและสตรีตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ถือเป็นปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องป้องกันและแก้ไขอย่างจริงจัง
       2) รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้า ใจ รวมทั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเรียนรู้เรื่อง สิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี สิทธิเด็ก เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยม เจตคติและพฤติกรรม ที่มีส่วนส่งเสริม การสร้างปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
      3) รณรงค์และส่งเสริมให้สื่อมวลชนควบคุมกันเอง และมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ พร้อมทั้งขอให้สื่อมวลชนให้เสนอข้อมูลที่ถูกต้อง
เหมาะสม ไม่ถ่ายทอดสื่อที่รุนแรง ผู้ผลิตสื่อทุกระดับต้องมีความตระหนักที่จะเผยแพร่สื่อให้อยู่ในกรอบของการ พัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์ และเคารพต่อสิทธิของผู้เสียหาย เน้นการนำเสนอเกี่ยวกับตัวผู้กระทำผิด ไม่ใช่เน้นที่ผู้ถูกกระทำ โดยให้มีหน่วยงานรับผิดชอบ ที่สามารถดำเนินการได้โดยฉับไว และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่ทราบอย่างทั่วถึง
      4) ส่งเสริมงานชุมชนสัมพันธ์ ปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองดี ตระหนักว่าความรุนแรงต่อเด็กและสตรีเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เฝ้าระวังปัญหา รู้จักป้องกันตนเอง แจ้งเหตุและช่วยเหลือผู้อื่น
      5) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในระหว่างสมาชิกครอบครัว รณรงค์ให้ความรู้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป ในเรื่องครอบครัวศึกษาการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกต้องเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานความเสมอภาคระหว่างหญิงชายผ่านทางสื่อประเภทต่าง ๆ เช่น การจัดรายการวิทยุโดยผู้มีความรู้และมีความเป็นวิชาชีพสูง
      6) ส่งเสริมการรวมกลุ่มครอบครัวในชุมชน เพื่อปกป้องดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี ตลอดจนจัดให้มีบริการและสวัสดิการสังคมแก่ครอบครัว เช่น สถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กในกลุ่มเสี่ยง
       7) เพิ่มศักยภาพบุคลากรทุกระดับในสถาบันการศึกษา โดยส่งเสริมสนับสนุนให้มีความรู้เรื่องสิทธิสตรี สิทธิเด็กอย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมมาตรการให้ครูมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขความรุนแรงทั้งใน สถานศึกษา ครอบครัว และชุมชน
      8) ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอน และการปฏิบัติของครูที่ ไม่ใช้ความรุนแรง เน้นในเรื่องจริยธรรม ศีลธรรม เมตตาธรรม ให้มีสติ การยับยั้งใจ เช่น ไม่มีการลงโทษโดยใช้ความรุนแรง
      9) ให้มีระบบประเมินการสอนและความประพฤติของครู โดยใช้ระบบคุณธรรม และสถาบันการศึกษาที่ผลิตครูต้องให้ความสำคัญกับการอบรมจรรยาบรรณของอาชีพ ครู และให้มีระบบการสอบใบประกอบอาชีพครู
     10) รัฐต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการควบคุม ลด เลิก สื่อลามกอนาจาร และสื่อความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ก่อให้เกิดการเลียนแบบความรุนแรง รวมทั้ง การโฆษณาสุราและ สิ่งเสพติดต่าง ๆ
      11) ส่งเสริมให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
      12) จัดหน่วยให้บริการประชาชนทั้งก่อนและหลังสมรส รวมทั้งจัดให้มีศูนย์บริการให้คำปรึกษาครอบครัวให้เพียงพอทั้งปริมาณและ คุณภาพ หรือ
ตั้งหน่วยงานบริการขึ้นในหน่วยงาน/องค์กรที่มีอยู่แล้ว เช่น อำเภอ อบต. เขตต่างๆ ใน กทม. ศูนย์เยาวชนของ กทม.
       13) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่องค์กรชุมชน ครอบครัวและประชาชน เพื่อให้เกิดความตระหนักในความสำคัญของเด็ก และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเด็กในชุมชน
       ระยะยาว
       1) กำหนดมาตรการและบทลงโทษทางกฎหมายและสังคม ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน ผู้พบเห็น และผู้เกี่ยวข้อง หากมีการเพิกเฉย เมื่อพบกรณีความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
       2) รณรงค์ให้ประชาชนและสังคมปรับเปลี่ยน เจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรม ไปในทางสร้างสรรค์ และมุ่งเน้นเพื่อการปกป้องไม่ให้ผู้หญิงและเด็กต้องตกเป็นเหยื่อของความ รุนแรงในทุกรูปแบบและทุกสถานการณ์
      3) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อขจัดอคติทาง เพศ และการเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสตรีทุกรูปแบบให้เป็นไปตาม กติกาสากลระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
     4) ส่งเสริมอาชีพแก่สมาชิกในครอบครัวและส่งเสริมให้ ครอบครัวมีหลักประกันความ มั่นคงในชีวิต ตลอดจนให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่ครอบครัวเมื่อสมาชิกในครอบครัวได้รับความ รุนแรง
     5) สนับสนุนให้มีหน่วยงานบริการแนะแนวและให้คำปรึกษา ครอบครัว ให้เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น หน่วยงานราชการ ชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน สถานประกอบการ ฯลฯ โดยรูปแบบที่ให้บริการนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสม พร้อมทั้งขยายการให้บริการใน เชิงรุกมากขึ้น และสร้างระบบการส่งต่อผู้รับบริการให้กับหน่วยงานที่ รับผิดชอบโดยตรง
      6) ภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการขจัดสารเสพติดทุกชนิด ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงในทุกรูปแบบ ไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของสารเสพติดได้

2. แผนงานด้านกฎหมาย
     ระยะสั้น
     1) ให้การคุ้มครองดูแลเป็นพิเศษในกรณีที่เด็กและสตรี เป็นผู้ถูกกระทำ โดยเฉพาะระหว่างกระบวนการสอบสวนและดำเนินคดี เช่น การรักษาความลับ การคุ้มครองดูแล การให้ที่พักพิงในสถานที่ที่เหมาะสมและไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนทางจิตใจ
       2) เร่งปรับปรุงและผลักดันให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพ เด็กแทนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 294 ภายใน 1 ปี และให้มีกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจแยกผู้เสียหายที่เป็นเด็กออก ชั่วคราวจากผู้ปกครองที่เป็นผู้กระทำรุนแรง
      3) ให้มีมาตรการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรม ในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กและสตรี ในการชี้ตัวผู้กระทำผิด การให้ปากคำ ฯลฯ
     4) ส่งเสริมสนับสนุนและคุ้มครองเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทางกฎหมาย และทางสังคมสงเคราะห์ทุกระดับที่เข้าไปดำเนินการเพื่อ ช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวและสังคม
     5) ให้มีระบบการรายงาน และติดตามผลโดยมีกฎหมายบังคับให้ ผู้พบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี รวมทั้งแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขที่พบกรณีสงสัย ต้องรายงานเรื่องดังกล่าวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ และกำหนดเป็นความผิด หากผู้พบเห็นดังกล่าวไม่ปฏิบัติ
     6) รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพโดยเคร่งครัด
     7) ให้เร่งรัดการออกกฎหมาย ระเบียบ การชดเชยผู้เสียหายที่เป็นเด็กและสตรี ที่ถูกละเมิดทางแพ่งและทางอาญารวมทั้งให้มีมาตรการชดเชย/ช่วยเหลือจากรัฐ
     8) ให้มีกฎหมายกำหนดความผิดแก่ บิดา มารดา และ/หรือเจ้าบ้านที่ละเลย เพิกเฉย ไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่กรณีที่พบว่าบุตร หรือคนในครอบครัวถูกกระทำรุนแรงทั้งจากคนในครอบครัว และบุคคลภายนอก
      9) รณรงค์ให้สังคมร่วมกันยุติความขัดแย้งด้วยสันติ วิธี และต่อต้านบุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการยุติปัญหา ตลอดจนใช้มาตรการทางกฎหมายดำเนินการขั้นเด็ดขาดแก่บุคคลดังกล่าว
    10) ให้มีการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อปรับเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับกรณีความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ด้านอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะสห สาขาวิชาชีพได้
     ระยะยาว
       1) เพิ่มมาตรการ ที่ใช้แทนการลงโทษที่รุนแรงหรือจำคุก แต่ลดขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อความยุติธรรมให้กระชับและไม่เป็นการซ้ำเติมทำร้าย ผู้ถูกกระทำ เช่น การให้ผู้กระทำไปรับการบำบัดรักษาทางสภาพจิตใจ การปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น
      2) รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
      3) ส่งเสริมสถานภาพสตรีโดยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ต่าง ๆ ที่ยังเลือกปฏิบัติต่อสตรี การออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะกฎหมายที่รองรับรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง
 
3. แผนงานช่วยเหลือคุ้มครองและสวัสดิการ
     ระยะสั้น
     1) พัฒนาระบบเครือข่ายจัดการฝึกอบรมและคู่มือในการให้ ความช่วยเหลือคุ้มครอง เด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องใช้ร่วมกัน จัดระบบเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือรักษาดูแลทั้งสุขภาพกายและจิตใจของผู้ ถูกกระทำความรุนแรงที่มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการเข้าถึงบริการโดยเฉพาะสถานพยาบาลต่าง ๆ
     2) ให้มีบริการความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกกระทำรุนแรงในลักษณะศูนย์บริการร่วม (one stop service) ให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านการแพทย์ การบำบัดฟื้นฟู และการดำเนินการทางกฎหมาย
     3) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความรุนแรง เช่น แพทย์ พยาบาล ครู นัก     จิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ตระหนักถึงปัญหาและเข้าใจวิธีจัดการกับปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นเฉพาะ หน้าอย่างมืออาชีพ เพื่อความ มั่นใจของผู้ใช้บริการหรือกับผู้ที่ถูกกระทำ
    4) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ หน่วยงานรัฐและ องค์กรเอกชน ทั้งด้านงบประมาณ และวิชาการกับหน่วยงานที่ทำงานช่วยเหลือปกป้องเด็กและสตรีที่ตกเป็นเหยื่อ ความรุนแรง ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและเป็นอิสระ
     5) ให้ศูนย์ช่วยเหลือเร่งด่วน 24 ชั่วโมง และศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปฏิบัติงานด้านการรับเรื่องราวร้องทุกข์ การให้คำปรึกษา การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมทั้ง จัดให้มีที่พักพิงแก่เด็กและสตรีที่ได้รับความรุนแรงก่อนจะพาไปรับบริการยัง หน่วยงานเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องต่อไป
      ระยะยาว
      1) จัดให้มีหน่วยงานที่ชัดเจน ทำหน้าที่พิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครองเด็กและสตรี ตลอดจนเฝ้าระวังปัญหาที่จะเกิดขึ้นและเป็นกระบอกเสียงแทนเด็กและสตรีที่ได้ รับความรุนแรง โดยสามารถดำเนินการได้ในทันที กรณีที่ต้องการความช่วยเหลือโดยฉับพลัน ทั้งนี้ ให้มีบริการโทรศัพท์ สายด่วนเลขสามหลัก จดหมายอิเลคทรอนิคส์ ฯลฯ เพื่อรับแจ้งการขอความช่วยเหลือ และให้มีการประชาสัมพันธ์บริการดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
       2) ให้ภาครัฐ จัดหรือสนับสนุนให้องค์กรเอกชน ชุมชน จัดให้มีบ้านพักพิงที่ปลอดภัยแก่สตรีและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรง
รวมทั้งมีกระบวนการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจในกรณีที่ไม่สามารถ ช่วยตนเองได้ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณ และการดำเนินงานขององค์กรเอกชนเพื่อให้จัดบริการดังกล่าว
       3) รณรงค์และสนับสนุนการรวมตัวและสร้างเครือข่ายของ ประชาชน องค์กรประชาชนและสถาบันทางศาสนา เช่น วัด โรงเรียน ศูนย์เยาวชน ให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ในการดูแลงานด้านการหยุดยั้งความรุนแรงต่อเด็ก และสตรีในชุมชน

4. แผนงานด้านการศึกษาและวิจัย
    ระยะสั้น
    1) จัดให้มีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนในเรื่อง สิทธิเด็ก สิทธิสตรี สิทธิมนุษยชน บทบาท หญิงชาย ครอบครัวศึกษา ทักษะชีวิต ทักษะในการสื่อสารที่ดี การป้องกันตัว เพศศึกษา ในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ ทางตรงและทางอ้อม และการศึกษาผ่านทางสื่อประเภทต่าง ๆ รวมทั้งให้มีการพัฒนาบุคลากร และสื่อประกอบการเรียนการสอนควบคู่ไปด้วย
    2) เผยแพร่และนำเสนอผลงานทางวิชาการหรืองานวิจัยอย่างเป็นระบบ แก่ผู้สนใจและ
         2.1) ประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจและเป็นการพัฒนาทางการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้นำผลที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงมาใช้เป็น แนวทางในการดำเนินงาน
        2.2) สนับสนุนให้มีโครงการนำร่อง เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการและประเมินผลในพื้นที่ 1 แห่ง ในด้านการพัฒนาครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีเพื่อขยายผล ในระยะต่อไป
       ระยะยาว
        1) สนับสนุนให้สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย รวมทั้งองค์กรวิชาชีพ องค์กรพัฒนาเอกชน ด้านสตรีและเด็ก ส่งเสริมให้อาจารย์ นักศึกษาและนักวิชาการ สร้างผลงานทางวิชาการ/งานวิจัยด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อ เด็กและสตรี เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาใน สังคมไทย
       2) ส่งเสริมสถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งภาครัฐและ เอกชน และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันให้การศึกษาปลูกฝังเจตคติและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม ในการไม่ใช้ความรุนแรงแก่ ครอบครัวและสังคมแก่คนรุ่นใหม่
      3) ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่สื่อมวลชนทุกประเภท โดยเฉพาะผู้จัดรายการที่มีการตอบปัญหาทางโทรศัพท์ เพื่อให้เข้าใจปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี รวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น บทบาทชายหญิง สิทธิมนุษยชน ฯลฯ
 
5. แผนงานพัฒนากลไก การประสานงานและบูรณาการ
     ระยะสั้น
     1) ให้มีกลไกประสานงานระดับชาติเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อ เด็กและสตรี ทำหน้าที่ประสานงานเพื่อให้เกิดบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและองค์กร เอกชน รวมทั้งหน่วยงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน รวมทั้งรายงานผลให้คณะรัฐมนตรี และเผยแพร่สู่สาธารณชนเป็นระยะ ๆ
      2) สร้างมาตรฐานการทำงานอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน กำหนดให้ มีการดูแลและรับผิดชอบด้านคุณภาพ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำงานทางด้านขจัดความรุนแรงโดยทางตรง และโดยทางอ้อม
      3) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งกลไกเครือข่าย องค์กรประชาชนระดับต่าง ๆ ที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะระดับหมู่บ้านและชุมชน เพื่อสำรวจเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไข และให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและสตรีจากการกระทำรุนแรง
      4) หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องคุ้มครองผู้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและสตรีที่ ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง
       5) พัฒนาบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดการกรณีของเด็กและสตรีที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันขจัดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
      6) ให้มีการฝึกอบรมเฉพาะด้านในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความชำนาญ ตลอดจนมีเจตคติที่ดี ในการปฏิบัติต่อผู้เสียหายที่เป็นเด็กและสตรี
       ระยะยาว
       1) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหน่วยปฏิบัติที่รับผิดชอบ ปัญหาโดยตรงที่หลากหลายตาม สถานบริการสุขภาพ และให้มีเจ้าหน้าที่เพียงพอต่อการบำบัดรักษา ทั้งผู้ที่ถูกกระทำและผู้กระทำความรุนแรง เช่น แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ
      2) จัดให้มีศูนย์หรือหน่วยให้คำปรึกษาแนะแนวเกี่ยวกับปัญหาครอบครัวให้ครอบคลุมมากขึ้นและทั่วถึงทั้งในเขตชุมชนเมืองและชนบท

6. แผนงานการติดตาม ประเมินผลและระบบฐานข้อมูล
     ระยะสั้น
     1) ส่งเสริมให้มีการรวบรวมสถิติและผลงาน เพื่อเปรียบเทียบการเกิดขึ้นและการลดลงของความรุนแรงในทุกรูปแบบ รวมทั้งให้มีการประมวล วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล งานวิจัย ที่เกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ตลอดจนให้มีการ ติดตามประเมินผล การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
     2) สร้างตัวชี้วัด 1 ชุด เพื่อเป็นเครื่องมือวัดผลกระทบจากปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในระดับ ปัจเจกบุคคล ครอบครัว และสังคม ซึ่งสามารถนำมาใช้ประเมินผลโครงการและแผนได้
    3) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางและเครือข่ายเกี่ยวกับปัญหา ความรุนแรง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูลที่จัดเก็บ ข้อมูลที่สำคัญทุกด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษา นักวิจัย ผู้ถูกกระทำรุนแรง รวมทั้งประชาชนทั่วไป สามารถค้นคว้าได้ ทั้งในด้านข้อมูลสถิติ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การให้ความช่วยเหลือ และการบำบัด
    4) ให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ในการให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบาย และวางแผนการป้องกันและช่วยเหลือต่อไป

7. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
     7.1 ภาครัฐ
              สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
              สำนักงานอัยการสูงสุด
              กระทรวงมหาดไทย - กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน กรมราชทัณฑ์
              กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม - กรมประชาสงเคราะห์  กรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน   กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
             กระทรวงศึกษาธิการ - ทุกกรม
             กระทรวงสาธารณสุข - สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์  กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต
กรมควบคุมโรคติดต่อ
           กระทรวงยุติธรรม - ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กรมคุมประพฤติ  สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
           ทบวงมหาวิทยาลัย - สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล
           กรุงเทพมหานคร - สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย  สำนักพัฒนาชุมชน  สำนักสวัสดิการสังคม  สำนักการศึกษา
    7.2 ภาคเอกชนและองค์กรประชาชน
            สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ฯ สภาสตรีแห่งชาติฯ มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์ มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิผู้หญิง มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย สหทัยมูลนิธิ มูลนิธิคุ้มครองเด็ก มูลนิธิส่งเสริมโอกาสผู้หญิง บ้านของวันพรุ่งนี้ เชียงใหม่
     7.3 องค์กรวิชาชีพ
              สมาคมแพทย์ทุกสาขา สมาคมพยาบาลทุกสาขา สมาคมจิตวิทยา
     7.4 สื่อมวลชน สมาคมผู้สื่อข่าว สถานีวิทยุ
สมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทย สภาการนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สถานีวิทยุ และสถานีโทรทัศน์ทุกแห่ง
     7.5 องค์กรประสานงานระดับชาติ
           1) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดย
                1.1) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.)
                1.2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ประสานงานนโยบายด้านเด็กและเยาวชน
          2) สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กแลพครอบครัว มหาวิทยาลัย มหิดล ประสานด้านวิชาการ

8. กิจกรรมหลัก/โครงการหลัก (ตัวอย่าง)
     8.1 โครงการทั่วไป
            1. โครงการป้องกันการละเมิดและกระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรี
            2. โครงการรณรงค์แก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
            3. โครงการการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรง
            4. โครงการผลิตสื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
            5. โครงการการสัมมนาเรื่อง สื่อมวลชนกับสถานการณ์ความรุนแรงในสังคม
            6. โครงการอาสาสมัครส่งเสริมสิทธิ : อาสาสมัครชุมชนเฝ้าระวังภัยต่อเด็กและสตรี
            7. โครงการการให้บริการความช่วยเหลือคุ้มครองและปกป้องสิทธิเด็กและสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรง
            8. โครงการรณรงค์ให้มีการปรับเปลี่ยนเจตคติของผู้หญิง และ ผู้ชายต่อการใช้ความรุนแรง
            9. โครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
         10. โครงการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสตรีและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรง ในโรงพยาบาลของรัฐในแผนกฉุกเฉิน
         11. โครงการฝึกอบรมบุคลากรและจัดทำคู่มือแนวทางการให้ความช่วยเหลือสตรีและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรงแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
         12. โครงการส่งเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนในประเด็นสิทธิเด็กและสตรีสิทธิมนุษยชน
         13. โครงการประกวดภาพวาดรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
         14. โครงการอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ครู และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
         15. โครงการอบรมครูเรื่อง สิทธิเด็กและสิทธิสตรี
         16. โครงการรณรงค์ปรับเปลี่ยนเจตคติและค่านิยม : พฤติกรรมรุนแรงในครอบครัว
         17. โครงการบทบาทของสื่อกับการนำเสนอปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
         18. โครงการจัดทำคู่มือ guideline สำหรับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์และประชาชนทั่วไปสำหรับการดำเนินคดีที่ผู้เสียหาย เป็นเด็กและสตรี ซึ่งถูกกระทำรุนแรงถูกละเมิดทางเพศ การล่อลวงบังคับค้าประเวณี รวมทั้งรวบรวมรายชื่อหน่วยงานองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
        19. โครงการส่งเสริมองค์กรทางศาสนาให้มีบทบาทในการลดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
        20. โครงการครอบครัวสัมพันธ์ไม่ต้องใช้ความรุนแรง
  8.2 โครงการวิจัย
        1. โครงการวิจัยพัฒนาตัวชี้วัดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และผลกระทบในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และสังคม
        2. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาครอบครัวดีมีสุขโดยชุมชน (เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ในลักษณะโครงการนำร่อง 1 พื้นที่ เพื่อขยายผลในระยะต่อไป)
        3. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัวและในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
       4. โครงการศึกษารูปแบบความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในบริบทต่าง ๆ โดยศึกษาถึงสาเหตุเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไข
       5. โครงการศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายและผู้กระทำผิดในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความรุนแรงเฉพาะหน้า
            โครงการสำรวจธรรมชาติ ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในประเทศไทย
       6. โครงการวิจัยการรับรู้ของคนในครอบครัวที่มีปัญหาการกระทำรุนแรง
       7. โครงการสำรวจธรรมชาติ ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในประเทศไทย, ใน กทม. ฯลฯ
       8. โครงการวิจัย เรื่อง ปัญหาอุปสรรค กลไกรัฐในการให้การคุ้มครองช่วยเหลือปกป้องสิทธิสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรง
      9. โครงการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ตลอดจนความสามารถตอบสนองความต้องการของเด็กและสตรีผู้เสียหาย
    10. โครงการวิจัยประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

ความรุนแรงต่อเด็ก
ความรุนแรงต่อสตรี



วัยรุ่นกับความรุนแรง
       นับจากต้นปีที่ผ่านมา จะมีข่าวที่วัยรุ่นก่อความรุนแรงมากมาย  เช่น ข่าวที่วัยรุ่นใช้ปืนยิงเพื่อนนักเรียนเสียชีวิต  ยกพวกตีกันระหว่างสถาบัน  และล่าสุด คือเมื่องานคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีวัยรุ่นประมาณ  1,000  คน ยกพวกตีกันจนทำให้มีผู้เสียชีวิต  2  ราย   ปัญหาเหล่านี้ จัดว่าเป็นปัญหาทางสังคม ที่นับวันได้มีแนวโน้มที่แสดงออกถึงการทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
       วัยรุ่นเป็นวัยที่ผู้คนมักเรียกกันว่า  วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ”  เพราะวัยนี้พยายามที่จะค้นหาความเข้าใจในตนเอง ยิ่งในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้โลกทัศน์ของวัยรุ่นกว้างขึ้น  บางคนก็ค้นพบตนเองในทางที่ถูกต้อง  แต่บางคนกลับหันเหไปในทางที่ผิด ทำให้เป็นบ่อเกิดของปัญหาที่เราเห็นในปัจจุบัน
       ถ้าจะวิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นในขณะนี้  คิดว่าคงจะมีสาเหตุมาจากหลายๆด้าน  ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของวัยรุ่น  สภาพครอบครัว  สภาพสังคมต่างๆ ที่เป็นตัวหล่อหลอมพฤติกรรมของวัยรุ่นผ่านสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์  วีดีโอ  เกม  ที่ล้วนมีผลต่อความรุนแรง  เข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึก โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัว
       สิ่งสำคัญที่สุดที่จะบ่งชี้ถึงพฤติกรรมของวัยรุ่น  ก็คือครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของวัยรุ่น    ครอบครัวจะเป็นหน่วยพื้นฐานที่คอยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็กเมื่อย่างเข้า สู่วัยรุ่น  ความสัมพันธ์กับบุคลในครอบครัวจะยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้น และมักจะเกิดปัญหาขัดแย้งกันเสมอๆ  เราจะสังเกตได้ง่ายๆ ว่าวัยรุ่นเริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอิสระ   ไม่อยากให้ใครมาบังคับ และต้องการเป็นตัวของตัวเอง  ดังนั้นส่วนสำคัญที่สุด คือพ่อ แม่ ที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก  ควรให้คำปรึกษา เข้าใจในชีวิตของเด็กวัยนี้  ไม่ขัดขวาง ห้ามในสิ่งที่เขาต้องการค้นหา แต่ควรให้คำปรึกษาที่ดี  เพราะเด็กวัยนี้ ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ
       โดย ทั่วไปแล้วเด็กวัยรุ่นมักจะเกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่เสมอ ทำให้หันเหชีวิตไปหาเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มเพื่อนจึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่วัยรุ่นให้ความสำคัญเหนืออื่นใดจึงเกิดการ เกาะติดความเป็นพรรค เป็นพวก สืบเนื่องไปจนถึงความเป็นสถาบัน  และยึดถือปฏิบัติกฎเกณฑ์ที่รุ่นพี่ในสถาบันตั้งขึ้น  เราจึงเห็นกลุ่มวัยรุ่นต่างสถาบันยกพวกตีกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่  รุ่นพ่อ สืบมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน 
       จาก สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา  ทำ ให้เราเห็นว่าครอบครัวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ในการปลูกฝังอบรมเด็กสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็กเมื่อเขาโตขึ้นและย่าง เข้าสู่วัยรุ่น พ่อ แม่ต้องเป็นส่วนสำคัญในการชี้แนวทางการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยวิธีที่ถูกต้อง  และต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของวัยรุ่น   ไม่ดุด่า  หรือปล่อยจนเกินไป  เพราะสาเหตุเหล่านี้จะทำให้วัยรุ่นกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว  และตีตัวออกห่างจากครอบครัว ไปมั่วสุมกับเพื่อนๆ และเลือกเดินในแนวทางที่ผิดจนกลายเป็นปัญหาของสังคมอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน


ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นและสื่อ( Violence in Adolescent and Media )
ความ รุนแรงในเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังเราจะเห็นเป็นข่าวที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไป เช่น เด็กนักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน , เด็ก วัยรุ่นใช้ปืนยิงคู่อริ และยิงตัวตาย กลุ่มเด็กวัยรุ่นรุมข่มขืนเด็กผู้หญิง ฯลฯ มีการใช้อาวุธที่รุนแรงและอันตราย เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นนำไปสู่สาเหตุการตายในเด็กวัยรุ่นมีจำนวนมากขึ้นนอก จากสาเหตุจากอุบัติเหตุจากยานยนต์ที่เคยเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง เด็กวัยรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ วุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ การปรับตัวเข้าอยู่ในสังคม ที่สำคัญโดยธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น เป็นช่วงระยะเวลาแห่งการเรียนรู้หาประสบการณ์ อยากลองสิ่งแปลกใหม่และทำในสิ่งที่ท้าทาย โดยมีความรู้สึกว่าตนเองแน่ เก่ง ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดกับคนอื่นจะไม่เกิดกับตนเองและไม่คำนึงผลที่จะเกิด ตามมาในอนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ในวัยรุ่นมากมาย
เด็ก วัยรุ่นเรียนรู้ชีวิตจากชีวิตจริงที่เขา ดำเนินอยู่ ขณะเดียวกันเขาก็เรียนรู้หรือซึมซับความรุนแรงจากชีวิตจริงที่เขาได้เห็นได้ สัมผัสจากคนใกล้ชิด , ครอบครัว , ชุมชน , สังคม , โรงเรียน , สิ่งแวดล้อม ตลอดจนจากสื่อต่างๆ ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อเด็กเล็กๆ และเด็กวัยรุ่นในสังคมปัจจุบัน ความหมายของคำว่า Violence หรือ ความรุนแรง หมายถึง การกระทำที่มีหรือส่อว่ามีเจตนาที่จะกระทำให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่น ได้รับบาดเจ็บ การบาดเจ็บนี้อาจเนื่องมาจากการทำร้ายร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทบาทของเด็กวัยรุ่นนั้นในความรุนแรงนั้น อาจจะเป็นทั้งผู้กระทำและถูกกระทำ ซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาสปัจจัยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ จากการศึกษาพบว่าเด็กวัยรุ่นจะตกเป็นผู้ถูกกระทำ ( ถูกทำร้าย ) เป็น 2 เท่า ของผู้ใหญ่และในปัจจุบันพบว่าเด็กที่ถูกทำร้ายและทำร้ายผู้อื่นจะมีอายุ น้อยลงเรื่อยๆ และผู้ชายโดยทั่วไปแล้วจะเป็นทั้งผู้ทำร้ายและผู้ถูกทำร้ายสูงกว่าเด็ก ผู้หญิง ยกเว้นบางกรณีเรื่องทางเพศ กลุ่มเด็กผู้หญิงจะเป็นผู้ถูกกระทำสูงกว่าเพศชายและที่น่าสนใจก็คือ เด็กที่ถูกทำร้ายคนที่เป็นผู้กระทำมักจะเป็นคนใกล้ชิดและมักจะเป็นคนในครอบ ครัวและสาเหตุการตายความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นมักจะเป็นสาเหตุจากการใช้อาวุธ ปืน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าสมมุติฐานของความรุนแรงเกิดมาจากประสบการณ์หรือ การเรียนรู้ความรุนแรงที่เคยได้รับรู้ได้เห็นมาก่อน
ฉะนั้นในการแก้ไขและป้องกันปัญหาความรุนแรงจะต้องไม่ให้มีตัวอย่างหรือเห็นความรุนแรงในสังคมให้เด็กได้เห็นหรือเรียนรู้
ปัญหา ความรุนแรงในเด็กวัยรุ่นจะมีปัจจัยต่างๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายปัจจัยร่วมกัน ส่งเสริมให้มีความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น ปัญหาทางด้านพันธุกรรม , ฮอร์โมน , ความผิดปกติทางด้านร่างกาย , พื้นฐานทางด้านอารมณ์ , การเลี้ยงดู , สภาพทางด้านครอบครัว , วัฒนธรรม , ค่านิยม , ความเชื่อถือ , เชื้อ ชาติ ตลอดจนกฎเกณฑ์ทางด้านสังคมและกฎหมายต่างๆ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่ความรุนแรงที่เราพบเห็นเป็นประจำที่ปัจจุบันมี อิทธิพลอย่างมาก คือ สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ วิดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ และสิ่งที่จะชักจูงนำไปสู่ความรุนแรงได้ง่ายมากขึ้น คือ พวกเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมต่างๆ ยา สารเสพติด ฯลฯ ซึ่งกลุ่มเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงและล่อแหลมต่อสิ่งดังกล่าว ถ้าหากไม่มีการควบคุมกำกับดูแลที่ดีในปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จะมีผลเสียเกิดขึ้นตามมากับเด็กวัยรุ่นมากกว่าผลดีที่เด็กวัยรุ่น ควรจะได้รับ
ใน อดีตนั้นบุคลากรทางด้านการแพทย์มองปัญหาความ รุนแรงในเด็กวัยรุ่นเป็นเรื่องทางด้านกฎหมาย ตำรวจ ศาลพิจารณาคดี แต่ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าแพทย์จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการ แก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าว รวมทั้งองค์กรต่างๆ ในสังคมทั้งภาครัฐเอกชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากจึงจะทำให้ผลที่เกิด ตามมาจากความรุนแรง เช่น การตาย การกระทำความรุนแรงเป็นนิสัยปกติ , การถูกลงโทษกักขังผู้กระทำความรุนแรงหรือความผิดมีจำนวนลดน้อยลงและสังคมมี ความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ข้อ แนะนำเกี่ยวกับการใช้สื่อต่างๆ ที่ทางสมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อเด็กและวัยรุ่นให้มากที่สุด พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. แพทย์ ควรได้เข้าไปมีบทบาทพิจารณาดูความเหมาะสมของสื่อต่างๆ ที่มีผลต่อความรุนแรง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและมีมาตรการควบคุมอย่างเหมาะสม
2. แพทย์ ควรจะได้ให้คำแนะนำกับผู้ปกครองให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกสื่อที่ เหมาะ สมและใช้เวลาดูสื่อร่วมกับบุตรหลาน กำหนดระยะเวลาการดูโทรทัศน์ วิดีโอ 1-2 ชั่วโมง / วัน ใช้เครื่องมือ V - chip ป้องกัน โปรแกรมที่ไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงวิดีโอหรือเกมส์ที่รุนแรงและไม่ควรมีโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์อยู่ ในห้องนอนของเด็ก ควรอยู่ในที่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสอดส่องดูแลได้ว่าบุตรหลานกำลังทำอะไร อยู่
3. รายการหนัง , วิดีโอ , เกมส์ ต่างๆ ที่จะให้เด็กดูหรือเล่น ขณะที่เด็กรอแพทย์ตรวจควรได้มีการตรวจสอบดูความเหมาะสม ควรจะเป็นเรื่องที่ไม่มีความรุนแรงเท่านั้น มีเครื่อง V - chip ป้องกัน คัดกรอง
4. แพทย์ ควรให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ โรงเรียนและชุมชนให้เข้าใจและเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการสื่อที่เหมาะสมในการ เรียนการสอนเด็ก การใช้สื่อที่เหมาะสมสามารถลดความรุนแรงในเด็กลงได้
5. แพทย์ ควรเข้าไปมีบทบาทชี้แนะองค์กรระดับสูงที่ควบคุมนโยบายของประเทศเกี่ยว กับการนำเสนอ เนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงที่แฝงอยู่ ทางสื่อต่างๆ ที่จะมีผลเสียกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่น พร้อมหาแนวทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม การให้การบริการทางด้านการแพทย์ ที่จะช่วยลดผลกระทบของสื่อต่อความรุนแรง
6. แพทย์ ควรให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อที่สร้างสรรค์เกิดประโยชน์ต่อเด็กให้ มากขึ้น ให้ความรู้แก่ ผู้ผลิตสื่อต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายจะต้องเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของสื่อ ต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเด็ก
- หลีก เลี่ยงการนำเสนอการใช้อาวุธหรือพกพา ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ว่าเป็นเรื่องปกติ หลีกเลี่ยงการนำเสนอความรุนแรงในรูปแบบการแสดงเรื่องเพศหรือในเรื่องอื่นๆ ที่ออกมาในลักษณะสนุกสนาน เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญ
- ถ้า ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับความรุนแรงจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญและบอกให้ทราบ ถึงผลกระทบที่จะได้รับตามมาทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำซึ่งจะต้องมีคำอธิบาย ที่เข้าใจได้ง่ายที่พ่อแม่สามารถอ่านก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
- วิดีโอ เกมส์ต่างๆ ไม่ควรใช้คนหรือสิ่งมีชีวิตเป็นเป้ายิงและได้คะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อมีการฆ่า สำเร็จ ต้องนำเอาอายุเด็กมาเป็นข้อพิจารณาดูความเหมาะสมในการเลือกเกมส์แต่ละชนิด สำหรับเด็ก รวมถึงการแจกจ่ายหรือนำเสนอแก่เด็กในช่วงอายุต่าง ๆ
7. แพทย์ควรมีบทบาทช่วยจัดจำแนกระดับของสื่อ , เกมส์ต่างๆ เพื่อให้พ่อแม่สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
8. แพทย์ต้องเน้นย้ำกับผู้ปกครองว่าสื่อเกมส์ต่างๆ ถ้าผู้ปกครองไม่ซื้อต่อไปผู้ผลิตก็คงจะเลิกไปเอง
สื่อ ต่างๆ ไม่ว่าโทรทัศน์ วิดีโอเกมส์ วิดีโอเพลง เพลง ภาพยนตร์ รวมถึงสื่อโฆษณาต่างๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความรุนแรงมากที่สุดมีผลกระทบต่อความคิดค่านิยมและ พฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นเพราะในปัจจุบันนี้เด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์ เล่มคอมพิวเตอร์ และวิดีโอเกมส์ต่างๆ มากกว่าทำกิจกรรมอย่างอื่น และเป็นการสื่อสารทางเดียว ขณะเดียวกันผู้ผลิตสื่อต่างๆ ก็มีการพัฒนาให้มีความตื่นเต้นเร้าใจ หลอกล่อให้ผู้เล่นหลงใหลในเกมส์ต่างๆ มากขึ้นโดยลืมผลกระทบที่จะตามมา ภาพยนตร์ที่เหมือนความเป็นจริง และมีคนเป็นผู้แสดงยิ่งทำให้ดูเหมือนจริงและเด็กเลียนแบบได้ง่ายขึ้น
ฉะนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องมีความเข้าใจและ ตระหนักถึงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้มากขึ้นแล้ว พยายามป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าทีจะทำได้ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชนหรือระดับประเทศ การนำเสนอความรุนแรงควรจะต้องแสดงให้เห็นผลกระทบที่ตามมาด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กเข้าใจได้อย่างถูกต้องและที่สำคัญที่สุดคือผู้ปกครอง ชุมชน และสังคมจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กวัยรุ่น ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยไมใช้ความรุนแรง ซึ่งจะช่วยปลูกฝังและหล่อหลอมเด็กเหล่านี้ เพื่อทำให้ปัญหาความรุนแรงต่าง ๆ คงลดน้อยลงหรือหมดไป 






  










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น